สาระชีวิต หมีขั้วโลก ราชาหมีดินแดนอาร์กติก

หมีขั้วโลก

หมีขั้วโลก สัตว์ตัวใหญ่ขนหนาปุกปุย ในดินแดนแห่งความหนาวเย็น และมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่รวมกันไม่มาก ดำรงชีวิตมานานกว่าหลายร้อยปี พามาทำความรู้จักกับเจ้าหมีนักล่า สัตว์หน้าตาน่ารัก แต่นิสัยไม่ได้น่ารักอย่างที่คิด รวมถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ และสาเหตุของการเสี่ยงสูญพันธุ์

รู้จักกับ หมีขั้วโลก นักล่าขนปุยแห่งเขตหนาว

หมีขั้วโลก (Polar Bear) หมีขนาดใหญ่ ในวงศ์หมี Ursinae ถิ่นกำเนิดในเขตอาร์กติก พื้นที่ขั้วโลกทางตอนเหนือสุดของโลก โดยเป็นสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับ หมีสีน้ำตาล สามารถอยู่ได้ทั้งบนบก และในน้ำแข็ง จัดว่าเป็นหนึ่งใน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ต้องพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเล

วิวัฒนาการของหมีขั้วโลก มีต้นกำเนิดมานานกว่า 5 ล้านปีก่อน และมีการข้ามสายพันธุ์ในตระกูล อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น แพนด้ายักษ์ หมีแว่น หมีควาย หมีพระอาทิตย์ หมีดำ เป็นต้น

โดยฟอสซิลของหมีขั้วโลก เป็นกระดูกขากรรไกร อายุมากถึง 130,000 – 110,000 ปี และได้รับการตั้งชื่อสามัญเป็น “หมีขาว หมีน้ำแข็ง หมีทะเล และ หมีกรีนแลนด์” เรียกต่างกันแล้วแต่ปัจจัยทางกายภาพ [1]

บ่งบอกลักษณะ หมีขั้วโลก

สายพันธุ์ของหมี ที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ในตระกูลหมีและสัตว์กินเนื้อ โดยเพศผู้โตเต็มวัย มีน้ำหนัก 300 – 800 กิโลกรัม ความยาวลำตัว 200 – 250 เซนติเมตร ส่วนเพศเมียจะมีขนาดเล็กกว่า น้ำหนักประมาณ 150 – 300 กิโลกรัม และความยาว 180 – 200 เซนติเมตร

ลักษณะรูปร่าง จะเพรียวบางกว่าหมีสีน้ำตาล ขนสีขาวหรือเหลืองอ่อน โดยขนชั้นในหนาแน่น และมีขนชั้นนอกเพื่อป้องกัน ความยาวประมาณ 15 เซนติเมตร ช่วยกักเก็บความร้อน และลอยตัวในน้ำ ซึ่งผิวหนังด้านในเป็นสีดำ มีชั้นไขมันหนาถึง 10 เซนติเมตร กะโหลกเล็ก คอยาวกว่า และหลังค่อม

วิถีชีวิตทางสังคมและการล่าสัตว์

หมีขาวเป็นสัตว์รักสันโดษ ยกเว้นแม่กับลูก คู่ผสมพันธุ์ หรือรวมตัวกันมาก ในแหล่งอาหารสมบูรณ์ โดยการใช้ชีวิต พวกมันมีลำดับชั้นทางสังคม ซึ่งหมีขาวเพศผู้ตัวใหญ่ จะอยู่ในลำดับสูงสุด ส่วนมากพวกมันจะอยู่กันแบบเงียบ ๆ แต่สามารถส่งเสียงได้หลากหลาย หากต้องการความสนใจ และเผชิญหน้ากับศัตรู

แหล่งอาหารและการล่าสัตว์ เป็นสัตว์กินเนื้อ ส่วนประกอบมากกว่า 70% ถือเป็นนักล่าชั้นยอดแห่งอาร์กติก พวกมันชอบกิน แมวน้ำวงแหวน แมวน้ำมีเครา และ แมวน้ำกรีนแลนด์ ซึ่งมีไขมันกับพลังงานสูง หรือหากล่าแมวน้ำไม่ได้จะเลือกกิน วอลรัส และวาฬเบลูกา รวมถึงกินพืชอย่าง มอส หญ้า และสาหร่ายทะเล

คลังความรู้และการอนุรักษ์ หมีขั้วโลก

หมีขั้วโลก

หมีขาวนักล่าประเภท สัตว์เขตหนาว ซึ่งมีอายุขัยยาวนานเฉลี่ย 30 ปี อาศัยอยู่ในพื้นที่อาร์กติก บ้านหลังเดียวของพวกมัน แต่ในปัจจุบัน แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งอาหารถูกทำลายมากขึ้น และหมีขาวได้รับผลกระทบโดยตรง อาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ในอนาคต

6 Facts หมีขั้วโลก อ่านแล้วต้องทึ่ง!

แม้ภาพลักษณ์ภายนอกของหมีขาว จะดูน่ารักน่ากอดขนาดไหน แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกมันเป็นสัตว์นักล่าค่อนข้างดุร้าย และชำนาญในการล่าเหยื่อ นี่จึงเป็นเหตุผลที่เราไม่ควรเข้าไป ลูบหัวด้วยความเอ็นดู และต่อไปนี้เป็นข้อเท็จจริง ที่อ่านจบต้องไม่เชื่อสายตาแน่นอน

  • หมีขั้วโลกไม่ได้มีสีขาว : ตามความเป็นจริงแล้ว พวกมันมีผิวหนังชั้นในสีดำ สังเกตได้จากจมูกสีดำสนิท แต่มีขนปกคลุมแบบโปร่งแสง ไร้การผลิตเม็ดสี และกระจายอยู่ทั่วตัว ขนสามารถสะท้อนแสงได้ จึงทำให้เรามองเห็นเป็นสีขาว ซึ่งช่วยในการพรางตัวในหิมะ
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมล่ามนุษย์ : แม้ว่าแมวน้ำจะเป็นอาหารหลัก แต่ยังพบว่าพวกมันล่ามนุษย์ ด้วยความเร็วและมุ่งมั่น หากพวกมันกำลังหิวโหย และเราก้าวขาเข้าไป ในอาณาเขตของพวกมัน
  • ซ่อนตัวได้ดี จากกล้องถ่ายภาพความร้อน : ด้วยขนโปร่งแสงที่นุ่มฟู ทำหน้าที่ในการกักเก็บความร้อน ช่วยให้ความอบอุ่นได้ดี กับสภาพอากาศหนาวเย็น จึงทำให้พวกมันสามารถ ซ่อนตัวเองได้ จากการตรวจจับรังสีความร้อน ของกล้องอินฟราเรด
  • มีเปลือกตาหลายชั้น : หมีขาวมีเปลือกตา 3 ชั้น สำหรับลดปริมาณรังสี UV ช่วยปกป้องดวงตาจากหิมะเกาะตา และทำให้มองเห็นได้ชัดเจน
  • หมีขาวไม่ต้องดื่มน้ำ : จากวิวัฒนาการหมียุคก่อน พวกมันปรับตัวเข้ากับ สภาพอุณหภูมิติดลบได้อย่างง่ายดาย โดยปริมาณน้ำจืดส่วนมาก ในเขตอาร์กติก กลายเป็นน้ำแข็ง ซึ่งหมีขาวไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำมาก เพราะพวกมันมีน้ำในร่างกายเพียงพอ จากปฏิกิริยาทางเคมี ที่ทำหน้าที่สลายไขมัน
  • ว่ายน้ำเก่งแต่ขนไม่เคยเปียก : ความสามารถในการว่ายน้ำไกลกว่า 100 กิโลเมตร / วัน ซึ่งมีขนปกคลุม 2 ชั้น โดยขนชั้นนอก ป้องกันไม่ให้ขนชั้นใน เปียกขณะว่ายน้ำ หากมันขึ้นมาจากน้ำ เพียงสะบัดขนเล็กน้อย ก็สามารถแห้งได้ทันที ทั้งยังเป็นประโยชน์ กับการใช้ชีวิตในอากาศหนาวด้วย

ที่มา: 8 เหตุผลที่ทำให้เรารักน้องหมีขั้วโลก [2]

ประชากรและอัตราการสูญพันธุ์

ประชากรหมีขาวทั้งหมดทั่วโลก คาดว่ามีประมาณ 22,000 – 31,000 ตัว กระจายตัวอยู่ในพื้นที่อาร์กติก 19 แห่ง และอยู่ในเขตประเทศ แถบขั้วโลกเหนือ โดยคำนวณประชากรอัตรา 70% ประมาณ 16,000 อาศัยอยู่ในประเทศแคนาดา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ วิจัยพบว่าประชากรหมีขาว จะลดลงกว่า 30% ภายในปี 2050

จากสถิติการลดลงต่อเนื่อง ในช่วงรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2019 – 2023 จากประชากร 842 ตัว หลงเหลือเพียงแค่ 618 ตัว สาเหตุจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสภาวะโลกร้อน ซึ่งในอนาคตก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ และอาจเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เช่นกัน [3]

สรุป หมีขั้วโลก “Polar Bear”

หมีขั้วโลก หมีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลหมี แหล่งกำเนิดและอาศัย ในเขตอาร์กติก ขั้วโลกทางตอนเหนือ ชอบกินแมวน้ำเป็นอาหารโปรด ใช้ชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก และในน้ำแข็ง โดยพบประชากรลดลงต่อเนื่อง หนึ่งในสัตว์ที่มีอัตราเสี่ยงสูญพันธุ์สูง (Vulnerable) จากผลกระทบของสภาวะโลกร้อน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง