ห่านหัวลาย ห่านลวดลายสวยงาม สัตว์ป่าหาพบเจอได้ยากชนิดหนึ่ง เจ้าของฉายา “ห่านจ้าวเวหา” เพราะมีความสามารถพิเศษ ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เอกลักษณ์โดดเด่น กว่าห่านพื้นเมือง หลายคนอาจยังไม่เคยรู้จักมาก่อน เราชวนมาเปิดโลกเจ้าห่านหัวลาย มีวิถีชีวิตอย่างไรไปดูกัน
ห่านหัวลาย (Bar Headed Goose) นกเป็ดน้ำ ประเภท สัตว์ปีก อยู่ในวงศ์ของ Anatidae ห่านเพาะพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียกลาง แหล่งอาศัยในช่วงเขตร้อน ใกล้กับทะเลสาบบนภูเขา ภูมิภาคเอเชียใต้ และคาบสมุทรอินเดีย โดยมีถิ่นฐานกำเนิดมาจาก แถบอินเดีย ถูกยกให้เป็นต้นแบบของหงส์ ตามตำนานของอินเดีย [1]
ลักษณะของห่านหัวลาย ลำตัวจะเป็นขนสีเทาอ่อน สามารถแยกจากห่านสีเทา สายพันธุ์อื่นได้ง่ายมาก จากความโดดเด่น ของหัวเป็นสีขาว มีแถบดำบนหัว จำนวน 2 เส้น ทั้งยังมีสีเทา ค่อนข้างจางกว่าด้วย โดยเป็นห่านขนาดกลาง มีความยาว ประมาณ 71 – 76 cm. และน้ำหนัก ประมาณ 1.87 – 3.2 กิโลกรัม
ส่วนของปากห่าน จะเป็นสีเหลืองส้ม คอเป็นสีเทาเข้มแถบขาว ด้านข้างลำตัวเป็นลายขวางสีดำ และส่วนขากับตีนเป็นสีเหลือง สำหรับห่านวัยเด็ก ยังไม่โตเต็มวัย ก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกัน ซึ่งหากกำลังบิน จะมองเห็นขนคลุมปีกสีเทา ติดอยู่กับปีกสีดำอย่างชัดเจน [2]
ห่านหัวลายเป็นนกชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถพิเศษ บินได้สูงที่สุดในโลก ในบรรดาห่านทั้งหมด โดยสามารถได้ยินเสียงบินชัดเจน ของห่านที่กำลังบินข้ามภูเขามาคารู ภูเขาที่สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ด้วยความสูงมากถึง 8,481 เมตร ซึ่งจากการวิจัยของนักสรีรวิทยา และนักธรรมชาติวิทยา
กล่าวว่าห่านหัวลาย บินผ่านช่องเขาสูง เพื่อการอพยพ จากพื้นที่ลุ่มของแถบอินเดีย ไปยังทิศทางเหนือ เพื่อการผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อน บริเวณที่ราบสูงของทิเบต ซึ่งการบินผ่านเทือกเขาหิมาลัย จะบินแบบต่อเนื่องไม่หยุดพัก ใช้เวลาเพียงแค่ 7 ชั่วโมงเท่านั้น ทั้งยังไม่ตอบสนอง ต่อแรงต้านของลมอีกด้วย
จากการศึกษาวิจัยในปี ค.ศ. 2011 พบว่าห่านหัวลายบินสูงกว่า 6,400 เมตร และในปี ค.ศ. 2012 จากการติดตามห่าน 91 ตัว พบว่าห่าน 95% ของทั้งหมด บินต่ำกว่า 5,784 เมตร ทั้งยังมีห่านอีก 10 ตัว ที่บินเหนือกว่าระดับความสูงนี้ และมีห่านแค่ 1 ตัวเท่านั้น ที่บินในระดับความสูงเกิน 6,500 – 7,290 เมตร
ห่านพันธุ์หัวลาย คือหนึ่งใน สัตว์ปีกหายาก ตามธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่นกประจำถิ่น ในประเทศไทย แต่เป็นนกอพยพเข้ามา โดยมีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวน และการคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 แน่นอนว่า เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อย่างมาก
แหล่งอาศัยและการออกหากิน จะชอบอยู่ตามทะเลสาบ หนองน้ำจืด แม่น้ำ และลำธาร มีพฤติกรรมการอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บางครั้งอาจเห็นอยู่ร่วมกับ เป็ดหงส์ ด้วยเช่นกัน ซึ่งออกหากินในเวลากลางคืน โดยเป็นสัตว์กินพืช และกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก อาหารหลักเน้นกินเป็น หญ้า เมล็ดพืช แมลง ปลา เป็นต้น
การนอนหลับพักผ่อน ในช่วงเวลากลางวัน โดยการยืนตัวตรงนิ่ง ๆ อยู่ในแหล่งน้ำตื้น สำหรับการผสมพันธุ์ จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน โดยห่านเพศเมีย จะทำการวางไข่ไว้ ในรังบนพื้นดิน จำนวน 3 – 8 ฟอง / ครั้ง ซึ่งไข่จะฟักออกมาเป็นตัว ใช้เวลาประมาณ 28 – 30 วัน และเกิดเป็นลูกห่าน ในระยะเวลา 60 วัน
การมีชีวิตของห่านหัวลายทั่วโลก ปัจจุบันมีจำนวนประชากร น้อยกว่า 70,000 อัตรา จึงนับว่าเป็นสัตว์ปีกเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ซึ่งตามรายงาน พบเห็นครอบครัวห่าน พาลูกออกหากิน เมื่อปี 2018 บริเวณริมทะเลสาบปันเต๋อหู ชิงไห่-ทิเบต และบริเวณลุ่มแม่น้ำถัวถัวเหอ ของประเทศจีน [3]
ต่อมาในปี 2021 ช่วงฤดูร้อน พบเห็นฝูงห่านหัวลาย จำนวนมาก บริเวณทะเลสาบซูกาน ในประเทศจีน กำลังดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ ทั้งการออกหากิน ทยอยฟักไข่ ว่ายน้ำ และการอาบแดด ทั้งยังสามารถอยู่ร่วมกับ นกอีกหลายชนิดด้วย อย่างเช่น นกกระเรียนคอดำ และเป็ดพม่า (เป็ดรัดดี)
นอกจากนี้ในประเทศไทย เข้าสู่ช่วงฤดูร้อนในหลายสัปดาห์ พบเห็นห่านหัวลาย อพยพหนีอากาศหนาวกันอย่างคึกคัก ในปี 2024 ที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ กำลังออกหากินจำนวนมาก รวมถึงนกสายพันธุ์อื่น ๆ อย่างเป็ดลาย เป็ดหางแหลม เป็ดแดง เป็ดพม่า เป็ดปากพลั่ว และนกคูด
ห่านหัวลาย ห่านสายพันธุ์หายาก และบินสูงที่สุด มากกว่า 6,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล จากแหล่งกำเนิดแถบอินเดีย อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ และมักเจออยู่กับนกน้ำชนิดอื่น หนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครอง และใกล้สูญพันธุ์ของไทย แต่ก็ยังพบเห็นได้ เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน