เกร็ดความรู้ ฮิปโปโปเตมัส สัตว์ดุร้ายอันดับต้นของโลก

ฮิปโปโปเตมัส

ฮิปโปโปเตมัส สัตว์ตัวใหญ่ทรงพลัง ที่เราเห็นกันในสวนสัตว์มาตั้งแต่เด็ก ทั้งน่ารักและน่าเกรงขามในเวลาเดียวกัน รวมสาระมากมาย เกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพ การใช้ชีวิตทางสังคม อาหาร อัตราแรงกัด การนอนหลับ ความสำคัญต่อระบบนิเวศ และประชากรปัจจุบัน

คู่มือชีวิต ฮิปโปโปเตมัส แห่งแอฟริกาใต้

ฮิปโปโปเตมัส (Hippopotamus) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ ภายใต้วงศ์ของ Hippopotamidae ถิ่นกำเนิดมาจากทวีปแอฟริกาใต้ ประกอบด้วย 2 สายพันธุ์ คือ ฮิปโปโปเตมัสแคระ และ ฮิปโปโปเตมัสธรรมดา แหล่งอาศัยตามแม่น้ำ ทะเลสาบ และป่าชายเลน โดยพบหลักฐานฟอสซิลการมีชีวิตอยู่ มาตั้งแต่ยุคไพลสโตซีนตอนกลาง ประมาณ 560 – 460,000 ปีก่อน [1]

ลักษณะจำเพาะ ฮิปโปโปเตมัส

ฮิปโปเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ โดยอาจมีขนาดใหญ่กว่าช้าง และแรดบางชนิด มีน้ำหนักเฉลี่ยเมื่อโตเต็มวัย 1,480 กิโลกรัม หรืออาจมากถึง 2,660 กิโลกรัม (ส่วนใหญ่เป็นเพศผู้ ที่มีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ) มีความยาวลำตัว 2.90 – 5.05 เมตร และความสูง 1.30 – 1.65 เมตร

ลักษณะรูปร่างทั่วไป จะมีลำตัวอ้วนคล้ายถัง หางและขาสั้น กะโหลกทรงนาฬิกาทราย จมูกยาว ปากกว้าง มีฟันและเขี้ยวค่อนข้างหนา โดยขนาดฟันตัด ยาวประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร จัดอยู่ในประเภท สัตว์ฟันแข็งแรง ส่วนผิวหนังหนาทั้งร่างกาย เป็นผิวสีเทาแกมม่วง หรือสีน้ำเงินแกมดำ

ชีวิตทางสังคมและอาหาร

สัตว์กึ่งน้ำ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำ และบนบก โดยชอบอยู่ตามแหล่งน้ำจืด และชายฝั่งลาดเอียง พบเห็นรวมกันเป็นฝูง อาจมีมากกว่า 100 ตัว และเพศเมียเป็นใหญ่ในฝูง สร้างอาณาเขตในน้ำเท่านั้น ซึ่งพวกมันสามารถลอยตัวในอากาศ จากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตร / ชั่วโมง

อาหารของฮิปโปโปเตมัส เป็นสัตว์กินพืชหลากหลายชนิด แต่เน้นกินหญ้าเป็นหลัก ประมาณ 40 กิโลกรัม / วัน โดยใช้เวลากินราว 5 ชั่วโมง และกินพืชน้ำเพียงเล็กน้อย ซึ่งพวกมันออกหากินบนบก ในช่วงตอนกลางคืน เดินทางไกลเป็นระยะ 3 – 5 กิโลเมตร และกลับลงน้ำเพื่อแช่ตัว ในช่วงตอนกลางวัน

สาระสำคัญรอบตัว ฮิปโปโปเตมัส

ฮิปโปโปเตมัส

อีกหนึ่งสัตว์ตัวใหญ่ทรงพลัง ที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว ค่อนข้างก้าวร้าว และเดาทางยากมาก สามารถจัดการกับสัตว์ใหญ่ หรือมนุษย์ที่เข้ามาบุกรุกอาณาเขต ได้อย่างง่ายดาย เป็นสัตว์ดุร้ายอันดับต้น ๆ ของโลก ถึงแม้ว่าหน้าตา จะน่ารักแค่ไหนก็ตาม ทั้งยังมีอายุขัยยาวนานราว 40 – 50 ปี

เรื่องจริงที่คุณไม่เคยรู้ของ ฮิปโปโปเตมัส

รวมข้อเท็จจริงต่าง ๆ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของฮิปโปโปเตมัส หลายเรื่องที่คุณอาจไม่เชื่อว่ามันทำได้จริง!

  • ปากกว้าง 150 องศา : สามารถอ้าปากกว้างมากถึง 150 องศา เพื่อการกิน ป้องกันตัวเอง และการข่มขู่ศัตรูให้หนีไป ซึ่งหากเป็นวัยโตเต็มที่ อาจอ้าปากกว้างได้เกือบ 180 องศา
  • แรงกัดฮิปโปโปเตมัส : แรงการกัดค่อนข้างสูง 2,000 ปอนด์ / ตารางนิ้ว หากเทียบกับสิงโตหรือเสือ ที่มีแรงกัด 1,000 ปอนด์ เป็นสาเหตุที่สัตว์ชนิดอื่น ไม่กล้าเข้ามารบกวนในอาณาเขต เพราะสามารถฉีกเนื้อสัตว์ใหญ่ได้ ภายในการกัดครั้งเดียว และเทียบกับแรงกัดมนุษย์ เพียงแค่ 200 ปอนด์เท่านั้น
  • มีอาณาเขตเครื่องหมาย : พฤติกรรมการขับถ่าย ด้วยการหมุนหาง กระจายอุจจาระให้มากที่สุด (เฉพาะในเขตน้ำ) โดยเพศผู้จะครองอาณาเขต 200 เมตร ที่มีเพศเมียประมาณ 10 ตัว
  • นอนหลับจมตัวลงน้ำ : พวกมันนอนหลับในน้ำ โดยการจมตัวลงลึกสุด และโผล่ขึ้นมาหายใจในน้ำได้เอง แบบไม่จำเป็นต้องตื่น ทำแบบนี้เป็นระยะทุก 5 นาที
  • ฮิปโปโปเตมัสมีเหงื่อเป็นเลือด : การหลั่งสารเคมีตามธรรมชาติ ในตัวของฮิปโปโปเตมัส จะทำหน้าที่ในการปกป้อง ผิวหนังไร้ขนจากแสงแดด ซึ่งสารที่หลั่งออกมา เมื่อผสมรวมกันแล้ว จะเรียกว่าเหงื่อเลือด สำหรับดูดซับแสงอัลตราไวโอเลต และยับยั้งแบคทีเรีย เพื่อป้องกันโรค
  • สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันตรายที่สุด : เป็นสัตว์ตัวใหญ่ นิสัยก้าวร้าว และคาดเดาไม่ได้ นับว่าอันตรายมากที่สุดในแอฟริกา ซึ่งหากเห็นพวกมันหาว นั่นเป็นสัญญาณเตือนร้ายแรง ต้องรีบหนีให้ไว จากสถิติพบว่าพวกมัน ฆ่าคนบุกรุกอาณาเขต และพยายามปกป้องลูก มากกว่า 430 คน / ปี

ที่มา: 35+ Fun Facts About Hippos. More dangerous than a lion? [2]

ความสำคัญ และจำนวนประชากร

ทำไมเจ้าฮิปโปถึงมีความสำคัญ แน่นอนว่าพวกมัน สำคัญต่อระบบนิเวศทางน้ำเป็นหลัก สามารถช่วยในการรักษาร่องน้ำ การเคลื่อนย้ายดิน การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใต้น้ำ และการสร้างแหล่งอาศัย ของสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิด ซึ่งทางเดินที่ฮิปโปสร้างในแม่น้ำ สามารถเป็นทางระบายน้ำ ช่วงน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น การขยายพันธุ์ของฮิปโป ยังช่วยในการหมุนเวียนสารอาหาร ส่งผลต่อการเพิ่มประชากรของปลาหลายสายพันธุ์ ที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีน และสร้างทุ่งหญ้าสัตว์เลี้ยง จากการเล็มหญ้าบนบก เป็นทั้งถิ่นอาศัย และช่วยดึงดูดสัตว์กินพืชชนิดอื่น เข้ามาอีกด้วย

สำรวจประชากรฮิปโปโปเตมัส ปัจจุบันพบจำนวนประชากรคงที่ คาดมีประมาณ 115,000 – 130,000 อัตรา (ผลการประเมินครั้งสุดท้าย ปี ค.ศ. 2016) โดยอยู่ในสถานภาพเปราะบาง ตามข้อมูลสหภาพนานาชาติ เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) [3]

สรุป ฮิปโปโปเตมัส “Hippopotamus”

ฮิปโปโปเตมัส เจ้าถังตัวอ้วนพลังมหาศาล แห่งลุ่มน้ำแอฟริกาใต้ อาศัยรวมกันเป็นฝูง หวงลูกและอาณาเขตเป็นพิเศษ มีฟันและเขี้ยวแข็งแรง แรงกัดมากกว่าเสือหรือสิงโต ขึ้นชื่อว่าเป็นสัตว์ดุร้าย และอันตรายติดอันดับต้นของโลก มีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางน้ำ และสิ่งมีชีวิตอีกมากมาย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง