ส่องสัตว์ทะเล เต่าทะเล มหัศจรรย์เต่าขนาดใหญ่

เต่าทะเล

เต่าทะเล รวมพลคนรักทะเล จะต้องรู้จักกับเต่าในทะเล หลากหลายชนิด สัตว์ที่ทำให้มหาสมุทรมีสีสัน เต็มไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ และความหลากหลายทางธรรมชาติ สามารถพบเห็นได้ตามฤดูกาล รวมเรื่องน่ารู้ใต้ท้องทะเล ภัยคุกคาม การอนุรักษ์เต่า และข้อเท็จจริงสุดแปลก!

รวมเรื่องใต้น้ำกับ เต่าทะเล

เต่าทะเล (Sea Turtle) สัตว์น้ำ และสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ จัดอยู่ในอันดับ Cryptodira แหล่งอาศัยในน่านน้ำของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ปาปัวนิวกินี และอินโดนีเซีย โดยมีทั้งแบบเต่าเปลือกแข็ง และเต่าเปลือกหนัง ถูกค้นพบหลักฐานฟอสซิล ย้อนกลับไปในยุคจูราสสิกตอนปลาย ตั้งแต่ 150 ล้านปีก่อน [1]

เต่าทะเล มีชนิดไหนบ้าง?

สายพันธุ์เต่าทะเลในปัจจุบัน มีทั้งหมด 7 ชนิด โดยแบ่งออกเป็น 2 วงศ์ย่อย รายละเอียดดังต่อไปนี้

  • Cheloniidae : เต่าทะเลวงศ์ใหญ่ ส่วนมากจะอยู่ในวงศ์ย่อยนี้ ได้แก่ เต่าหัวค้อน เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้าแอตแลนติก เต่าหญ้า และ เต่าตนุหลังแบน
  • Dermochelyidae : เต่าทะเลขนาดใหญ่ที่สุด มีเพียงชนิดเดียวบนโลก คือ เต่ามะเฟือง

สำหรับในประเทศไทย พบเห็นทั้งหมด 5 ชนิด คือ เต่าหัวค้อน เต่าตนุ เต่ากระ เต่าหญ้า และเต่ามะเฟือง

ลักษณะและวงจรชีวิตเต่า

เต่าทะเลเป็นเต่าขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีความยาวลำตัว 1.4 – 1.8 เมตร และน้ำหนัก 300 – 640 กิโลกรัม ทั้งยังมีชนิดขนาดเล็ก ความยาวเพียงแค่ 60 เซนติเมตร ซึ่งลักษณะทั่วไป จะเป็นโครงสร้างโค้งมนกว่าเต่าบก หรือเต่าน้ำจืด ไม่สามารถหดตัว และขาเข้าไปในกระดองได้ แต่นั่นก็ช่วยให้ สามารถว่ายน้ำได้ง่าย และรวดเร็ว

วงจรชีวิตของเต่าทะเล ใช้ชีวิตส่วนมากอยู่ในน้ำ และขึ้นมาบนบก เพื่อวางไข่เท่านั้น โดยจะขึ้นมาวางไข่ เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี วางไข่ประมาณ 1 – 8 ครอก / ฤดูกาล และในครอกอาจมีไข่ 50 – 350 ฟอง เมื่อฟักจะกลับลงสู่ทะเล โดยลูกเต่าทะเลตัวใหญ่ จะมีโอกาสรอดชีวิต สูงกว่าเต่าทะเลตัวเล็ก

อาหารเต่าทะเล เป็นสัตว์กินพืช และสัตว์หลากหลายชนิด อย่างเช่น ฟองน้ำทะเล หญ้าทะเล สาหร่ายทะเล หอย แมงกะพรุน ไส้เดือนทะเล และปลา เป็นต้น นอกจากนั้นในบางสายพันธุ์ จะกินแค่พืชเป็นหลัก หรือกินสัตว์เป็นหลัก ประมาณ 70 – 95% และเต่าทะเล มีอายุขัยเฉลี่ย 40 – 60 ปี หรือมากกว่า 100 ปี

เปิดโลกน่ารู้และบทบาทสำคัญ เต่าทะเล

เต่าทะเล

รู้หรือไม่? เต่าทะเลควรค่าแก่การอนุรักษ์มากแค่ไหน โดยเต่าในทะเลธรรมชาติ สำคัญต่อระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลก และถูกกำหนดให้ วันที่ 16 มิถุนายน ของทุกปี คือ “วันเต่าทะเลโลก” (World Sea Turtle Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญ การอนุรักษ์ และรักษาสมดุล ของระบบนิเวศอย่างยั่งยืน

ภัยคุกคามและการอนุรักษ์ เต่าทะเล

เต่าทะเลคือหนึ่งในสัตว์โบราณ ที่อาศัยอยู่บนโลกมานานกว่า 100 ล้านปี โดยมีชีวิตรอดจากยุคไดโนเสาร์ และภัยคุกคามจากสัตว์ชนิดต่าง ๆ แต่ในปัจจุบัน กลับต้องมาเผชิญหน้ากับ การติดเครื่องมือประมง การพันกันของตาข่าย การสูญเสียถิ่นอาศัย แนวปะการังเสียหาย การบริโภคไข่และเนื้อ และมลพิษทางทะเล

อย่างที่เห็นได้ชัดเจน เต่าทะเลส่วนมาก บาดเจ็บและเสียชีวิต จากการกินขยะพลาสติก ซึ่งพวกมันเข้าใจว่าเป็นแมงกะพรุน จึงทำให้ระบบทางเดินอาหารอุดตัน หรือร่างกายถูกพันไปด้วยตาข่าย ทำให้ยากต่อการดำรงชีวิต และการหาอาหารด้วยเช่นกัน

ปัจจุบันการอนุรักษ์เต่าในทะเล อย่างเช่น “เต่ามะเฟือง” ได้รับการขึ้นบัญชีสัตว์ป่าสงวน ของประเทศไทย และเต่าทะเลของไทยอีก 4 ชนิด จัดอยู่ในประเภท บัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2562 สามารถร่วมกันอนุรักษ์เต่าทะเลได้ง่าย จากการแยกขยะ และไม่ทิ้งขยะตามชายฝั่งทะเล [2]

ข้อเท็จจริงสุดแปลกของเต่า ทะเล

รวมเรื่องราวสุดแปลก ที่หลายอาจไม่รู้มาก่อน เกี่ยวกับเต่าในทะเลทั่วโลก ดังต่อไปนี้

  • เต่าคุยกันก่อนฟักไข่ : เต่ามีการส่งเสียงร้อง ก่อนจะทำการฟักออกจากไข่ โดยนักวิจัยพบว่า พวกมันกำลังสื่อสารกัน เพื่อให้ฟักออกจากไข่มาพร้อมกัน และนั่นก็เป็นเรื่องจริงที่เราเห็นกัน
  • ลูกเต่าสู้ชีวิต : การเริ่มต้นชีวิต ของเต่าในทะเล ตั้งแต่แรกเพิ่งฟักตัวออกมา พวกมันต้องฝ่าฟันอุปสรรคจากนักล่า ทั้งปู สัตว์เลื้อยคลาน และ นกนางนวล ซึ่งบรรดาลูกเต่า ต้องพยายามลงสู่ทะเลให้ไวที่สุด เพื่อเอาชีวิตรอดจากนักล่า ที่ผ่านไปมาแบบหิวโหย
  • เต่าตัวผู้ไม่เคยกลับบ้าน : ตามวงจรชีวิตของเต่าในทะเล ตัวเมียจะกลับขึ้นชายฝั่งทุกครั้ง เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูกาลวางไข่ แต่ในทางกลับกัน เต่าตัวผู้ไม่เคยกลับมาบนชายฝั่งเลย แม้แต่ครั้งเดียว และมีโอกาสที่จะไม่กลับมายัง ชายหาดเดิมอีกด้วย
  • อุณหภูมิกำหนดเพศเต่า : ลูกเต่าทะเลที่ฟักออกจากไข่ ล้วนต่างถูกกำหนดเพศ โดยอุณหภูมิรอบบริเวณรัง ซึ่งหากมีอุณหภูมิสูงกว่า 28 – 29 องศาเซลเซียส เต่าที่เกิดมาจะเป็นเพศเมีย และหากอุณหภูมิต่ำกว่านั้น จะเกิดเป็นเพศผู้
  • เต่าเดินทางด้วย GPS : เต่าแต่ละตัวในทะเล มีเครื่องระบุตำแหน่งแบบธรรมชาติ โดยเต่าเป็นนักเดินทางอพยพ ข้ามมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เพื่อหาแหล่งอาหาร ถิ่นฐานอาศัย และการขยายพันธุ์ ซึ่งพวกมันจะว่ายน้ำ ออกไปไกลหลายพันกิโลเมตร แต่ทว่าเต่าเพศเมีย ก็จะกลับมาวางไข่บนชายหาดเดิม ที่บ้านเกิดเสมอ เหมือนกับมี GPS ติดตัวตลอดเวลา

ที่มา: 11 เรื่อง มหัศจรรย์ ของเต่าทะเล [3]

สรุป เต่าทะเล “Sea Turtle”

เต่าทะเล เต่าขนาดใหญ่แห่งท้องทะเล ผู้มีชีวิตมาตั้งแต่โลกดึกดำบรรพ์ เป็นเต่าชนิดที่ไม่สามารถหดตัว หรือหัวเข้ากระดองได้ แต่เต็มไปด้วยทักษะหลากหลาย ทั้งว่ายน้ำเก่ง เอาตัวรอดเก่ง และจดจำตำแหน่งบ้านเกิดได้ดี หนึ่งในสัตว์ที่โดนภัยคุกคาม จากขยะพลาสติกอย่างมาก และควรค่าแก่การอนุรักษ์เป็นอย่างยิ่ง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง