เป็ดหงส์ หลายคนได้ยินชื่อแล้ว อาจไม่คุ้นหูกันเท่าไหร่ เพราะเรียกว่าเป็นหนึ่งใน สัตว์ป่าหายาก พบเห็นได้น้อยมาก ๆ โดยเฉพาะในไทย ด้วยการถูกล่า และถิ่นอาศัยถูกทำลาย จึงกลายเป็นสัตว์ ที่ควรค่าแก่การรักษา เราจะพามาเรียนรู้โลกของเป็ดหงส์ การสืบพันธุ์ แหล่งอาหาร และพิกัดพบเจอในไทย
เป็ดหงส์ (Comb Duck) หรือเรียกว่า เป็ดหวีอเมริกัน สัตว์ปีก ประเภทเป็ด จัดอยู่ในวงศ์ย่อย ของนกเป็ดน้ำ Anatidae วงศ์เดียวกับ เป็ดแมนดาริน แต่ต่อมาถูกจัดให้อยู่ ในวงศ์ของเป็ดเกาะคอน ซึ่งเป็นนกน้ำ ระหว่างเป็ดน้ำกับเป็ดหงส์ และสุดท้ายถูกแยกออกมา เป็นวงศ์ย่อย Tadorninae ของเป็ดหงส์อย่างเดียว
โดยพบการกระจายสายพันธุ์มาก ในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตร้อน ทางทวีปอเมริกาใต้ อเมริกาตอนกลาง แม่น้ำปารากวัย ทางประเทศบราซิล และประเทศอาร์เจนตินา บริเวณหนองน้ำจืด และทะเลสาบ ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยอุดมสมบูรณ์ มักเห็นเกาะอยู่บนต้นไม้ บนคอนไม้สูง มากกว่าการอยู่ในน้ำ [1]
เป็ดสายพันธุ์หนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ รูปร่างและสีแปลกประหลาด กว่าเป็ดสายพันธุ์ทั่วไป โดยเป็นเป็ดค่อนข้างใหญ่ มีความยาว ประมาณ 56 – 76 เซนติเมตร ปีกมีความกว้าง ประมาณ 116 – 145 เซนติเมตร และน้ำหนัก ตั้งแต่ 1.03 – 2.9 กิโลกรัม
ลักษณะของเป็ดโตเต็มวัย จะมีหัวสีขาว และจุดสีดำทั้งหัว ส่วนคอกับส่วนล่าง จะมีสีขาวล้วน สำหรับส่วนบนของปีก เป็นสีน้ำเงินผสมดำ และสีน้ำเงินเหลือบเขียว มีความมันวาว ซึ่งขนาดของเพศผู้ จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย แถมมีปุ่มสีดำใหญ่ อยู่บนจะงอยปาก ในขณะที่เพศเมียนั้นไม่มี
หากมองจากระยะไกล ของเป็ดหงส์วัยเด็ก (ยังไม่เข้าช่วงโตเต็มวัย) อาจมีความคล้ายกับ เป็ดปากนกหวีด (เป็ดต้นไม้ปากนกหวีด) ซึ่งมีสีขนสีน้ำตาล และแถบสีขาวพาดหางสีดำ แต่ส่วนมากแล้ว จะไม่ค่อยพบเห็นแบบสันโดษ เพราะจะอยู่รวมกันเป็นฝูง 4 – 10 ตัว กับเป็ดหงส์โตเต็มวัยเสมอ
การสืบพันธุ์ตามธรรมชาติ ของเป็ดหงส์ เกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน โดยเป็ดเพศผู้ สามารถมีคู่ครองได้ 2 – 5 ตัว / ครั้ง โดยพวกมันจะเลือก ปกป้องเพศเมีย และลูกเป็ดหงส์ แต่จะไม่ปกป้องรังนอน หรือโพรงไม้ที่มันสร้างขึ้น
ซึ่งเพศเมียที่ยังไม่มีการผสมพันธุ์ จะเกาะอยู่ตามต้นไม้สูง และรอโอกาสในการผสมพันธุ์ การวางไข่ของเพศเมีย ลักษณะของไข่ จะมีสีเหลืองอมขาว วางไข่ประมาณ 7 – 15 ฟอง ซึ่งเพศเมีย มักเลือกที่จะวางไข่ ทิ้งไว้ในรังนอนเดียว อาจทำให้มีจำนวนมากถึง 50 ฟอง
เป็ดหงส์ในประเทศไทย นับว่าเป็น สัตว์ปีกหายาก และสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากการสูญเสีย ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามราชบัญญัติปี พ.ศ. 2535 จากการไม่พบรายงาน การวางไข่ของเป็ดหงส์มานานกว่า 30 ปี และพบเห็นเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น
รายงานสถานที่ในไทย พบเห็นเป็ดหงส์ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตามรายละเอียด ดังนี้
ที่มา: พบเป็ดหงส์นกเสี่ยงสูญพันธุ์โผล่ทะเลบัวแดง [2]
ที่มา: ข่าวดี! นกเป็ดหงส์ ขยายพันธุ์เพิ่ม วอนชาวบ้านอย่าจับไปขาย [3]
จากการพบเจอของเป็ดหงส์ ในประเทศไทย สามารถสะท้อนได้ว่า มีแหล่งอาหาร อุดมสมบูรณ์มากมาย โดยส่วนมากจะพบในบริเวณทุ่งนา หรือบริเวณหนองบึง อยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ เน้นหากินยอดอ่อน เมล็ดพืชน้ำ เมล็ดข้าว แมลงน้ำ และสัตว์น้ำขนาดเล็ก อย่างเช่น ปลา กบ เขียด เป็นต้น
เป็ดหงส์ เป็ดหวีอเมริกันแปลกประหลาด สัตว์ป่าหายากชนิดหนึ่ง และเสี่ยงสูญพันธุ์อย่างมาก ในประเทศไทย สามารถพบเห็นได้ไม่บ่อยนัก อาจเพียงแค่ปีละ 1 – 20 ตัว ซึ่งในอนาคต จะพบเห็นได้เยอะขึ้น จากการขยายพันธุ์ การวางไข่ ในพื้นที่การเกษตรอุดมสมบูรณ์ และหวังว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น