รวมสาระ เลียงผา มหัศจรรย์นักปีนผาเทือกเขาสูง

เลียงผา

เลียงผา สัตว์ที่ขึ้นชื่อว่า เป็นนักปีนหน้าผาผู้เก่งกาจ และเป็นนักกระโดดสูงอีกด้วย เรียกว่าเป็นสัตว์มหัศจรรย์ ในป่าธรรมชาติ ที่สามารถปรับตัวอยู่ได้ ในสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก พวกมันอยู่อาศัยกันแบบไหน กินอะไรเป็นอาหาร และสามารถยืนบนหน้าผาสูงชันได้อย่างไร

พาทำความรู้จัก เลียงผา สัตว์ป่าแห่งทวีปยุโรป

เลียงผา (Chamois) สายพันธุ์ของแพะ ขนาดกลาง ถูกจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Caprinae โดยมีถิ่นกำเนิดในเทือกเขา ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป และได้รับการนำเข้ามาสู่เกาะใต้ ของประเทศนิวซีแลนด์ สำหรับการขยายพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีความเก่าแก่ ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ยุคไพลโอซีน ประมาณ 2 – 7 ล้านปีก่อน [1]

ลักษณะทางกายภาพของ เลียงผา

เลียงผามีลักษณะคล้ายกับ กวางผา สัตว์เคี้ยวเอื้อง มีกีบเท้าคู่ โดยมีความสูง 70 – 80 เซนติเมตร ความยาวของลำตัว 107 – 137 เซนติเมตร และตัวผู้มีน้ำหนัก 30 – 60 กิโลกรัม ในขณะที่ตัวเมีย มีน้ำหนักน้อยกว่าที่ 25 – 45 กิโลกรัม และทั้งคู่มีเขาสั้นตรง ปลายงอนไปทางด้านหลัง แต่เขาของตัวผู้ จะหนากว่าเล็กน้อย

สีขนของเลียงผา ส่วนมากเป็นขนสีน้ำตาลเข้ม ในช่วงฤดูร้อน และจะเปลี่ยนเป็นสีเทาอ่อน ในช่วงฤดูหนาว โดยมีความโดดเด่น บริเวณด้านหลังของศีรษะ เป็นรอยสีขาวตัดกัน และ มีแถบสีดำชัดเจนใต้สะโพก ซึ่งพวกมันมีขนหยาบ 2 ชั้น ขนสามารถเปลี่ยนได้ตามอายุ และ สภาพแวดล้อมอีกด้วย

นอกจากนั้น เลียงผายังมีเสียงร้องหวีด สำหรับใช้ในการเตือนภัยในฝูง ว่ากำลังมีอันตรายเข้ามาใกล้ โดยตัวที่สามารถสังเกตเห็นได้ จะหยุดชะงักทันที และส่งเสียงหวีดแหบผิดปกติ หรือบางครั้งก็เป็นเสียงแหลมยาว พวกมันจะหันมอง ในทิศทางเดียวกัน และจ่าฝูงจะส่งสัญญาณ กระทืบพื้นด้วยกีบเท้า เพื่อให้หลบหนี

แหล่งอาศัยและการหาอาหาร

เลียงผาเป็นสัตว์อยู่รวมกันเป็นฝูง 15 – 30 ตัว แต่ตัวผู้มักชอบใช้ชีวิต แบบสันโดษทั้งปี พบมากในเทือกเขาพิเรนีส ในระดับความสูง 3,404 เมตร และพบว่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ลาดชัน ขรุขระเป็นหิน ในระดับความสูง มากถึง 3,600 เมตร และจะย้ายไปยังพื้นที่ราบ ในระดับความสูง 800 เมตร เพื่อใช้ชีวิตในฤดูหนาวแถวป่าสน

อาหารของเลียงผา เลือกกินพืชหลากหลายชนิด ออกหากินเวลากลางวัน และนอนพักผ่อน ในตอนเที่ยงวัน โดยในช่วงฤดูร้อน จะกินหญ้า ใบไม้อ่อน หน่อพืชมีกลิ่นหอม และสมุนไพรบนพื้นที่สูง ส่วนในช่วงฤดูหนาว จะกินต้นสน ใบสน กิ่งไม้ และเปลือกไม้ ทั้งนี้ยังออกหากินแข็งขัน ในคืนที่มีแสงจันทร์สว่าง

ผู้ล่าหลักของเลียงผา พวกมันมักตกเป็นเหยื่อ ของสัตว์ขนาดใหญ่ อย่างเช่น เสือดาวเปอร์เซีย ลิงซ์ยูเรเซีย สุนัขจิ้งจอกสีทอง หมาป่าสีเทา รวมถึง หมีสีน้ำตาล และนกอินทรีทอง ซึ่งเลียงผามักวิ่งหลบหนีนักล่า อย่างเงียบ ๆ ด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตร / ชั่วโมง และ สามารถกระโดดสูงได้ถึง 2 เมตร ระยะไกลกว่า 6 เมตร

เลียงผา เกร็ดความรู้นอกห้องเรียน

เลียงผา

เลียงผาสามารถพบเห็นได้ ในประเทศไทย หนึ่งในประเภท สัตว์เขตร้อน โดยหลายคนมักเรียกว่า “เยียงผา หรือ โครำ” เราจะพบเห็นกันตามหน้าผา ภูเขาสูงชัน ซึ่งมีวิวัฒนาการ ในการปรับตัวให้เหมาะสม กับแหล่งที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ แต่อาจพบเห็นไม่ง่ายนัก เนื่องจากว่ามีประชากรน้อย และเป็นสัตว์ป่าสงวนหายาก

ทำไมเลียง ผา ยืนบนผาลาดชันได้?

เคยสงสัยหรือไม่? ทำไมเลียงผา ถึงยืนอยู่ได้บนพื้นที่ลาดชัน แน่นอนว่าเป็นเพราะสรีรวิทยา ช่วยให้เอาตัวรอดได้จากสภาพแวดล้อมขรุขระ ด้วยกีบเท้าที่แยกเป็น 2 แฉก ภายนอกหนาแข็งแรงและคม เพื่อวางเท้าบนหินได้อย่างสะดวก ส่วนด้านในอ่อนนุ่ม เพื่อช่วยเพิ่มแรงเสียดทาน ป้องกันตอนลื่นไถล หรือล้มตกเขา

ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจเลียงผา มีผนังกล้ามเนื้อหัวใจค่อนข้างหนา ที่ช่วยในการรักษา อัตราการเต้นของหัวใจ ในระดับ 200 ครั้ง / นาที และช่วยในการไหลเวียนเลือดได้ดี เมื่อพวกมันต้องปีนป่าย ขึ้นเนินเขาสูงและชัน ทำให้ไม่ต้องออกแรงมาก ทั้งยังหายใจได้สะดวก ในระดับความสูง ที่มีออกซิเจนเบาบาง [2]

ประชากรและภัยคุกคาม เลียงผา

จำนวนประชากร เลียงผาในยุโรป พบประชากรมากกว่า 440,000 ตัว โดยเป็นเลียงผา ตัวโตเต็มวัยในปัจจุบัน ตามบัญชีแดงของ IUCN ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม สัตว์ที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด (LC) ต่อการสูญพันธุ์ และมีจำนวนค่อนข้างมั่นคง กระจายสายพันธุ์ได้ดี สามารถมีอายุขัยได้นาน 15 – 17 ปี

ภัยคุกคามหลักกับเลียงผา มาจากการลักลอบล่าสัตว์ การแข่งขันทางปศุสัตว์ การรบกวนจากมนุษย์ เพื่อการค้าขาย (อย่างเช่น หนังชามัวร์ ผิวเรียบและดูดซับน้ำได้ดี) โดยเลียงผาได้รับผลกระทบ ในการสูญเสียแหล่งอาศัย และอาจเสี่ยงต่อการผสมพันธุ์ กับสัตว์สายพันธุ์ย่อย ที่มีลักษณะใกล้เคียงในภูมิภาคต่าง ๆ [3]

สรุป เลียงผา “Chamois”

เลียงผา สัตว์เคี้ยวเอื้อง มีกีบเท้าขนาดกลาง ถิ่นฐานกำเนิดในเทือกเขา ของทวีปยุโรป ลักษณะเด่นขนสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเทาอ่อน เปลี่ยนไปตามฤดูกาล มีเขาสั้นปลายโค้งงอเหมือนเคียว แหล่งอาศัยพบมากในพื้นที่ภูเขาสูง มีพื้นผิวเป็นหินขรุขระ และลาดชัน โดยมีประชากรมั่นคง มากกว่า 440,000 ตัว

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง