เหยี่ยวขาว นกเหยี่ยว ประจำท้องถิ่น ขนสีขาว และปีกสีดำ ชอบเกาะอยู่ตาม กิ่งไม้แห้งเด่นสง่า เพื่อมองหาเหยื่อตลอดเวลา หนึ่งในนกนักล่า ที่พบเจอได้ค่อนข้างง่าย โดยเฉพาะในออสเตรเลีย รวมถึงประเทศไทย ในบางพื้นที่ สัตว์นักล่าตัวน้อย ที่จะทำให้ผู้คนพบเห็น ตกตะลึงในความงาม และ น่าเกรงขามอย่างแน่นอน
เหยี่ยวขาว (Black-Shouldered Kite) หรือมักเรียกกันว่า เหยี่ยวไหล่ดำ, เหยี่ยวปีกดำ นกนักล่าขนาดเล็ก พบมากในแหล่งอาศัย ทั่วพื้นที่ออสเตรเลีย โดยเครือญาติ จัดอยู่ในวงศ์ย่อย Elaninae เป็นนกกลุ่มย่อยชนิดแรก ในวงศ์นกนักล่าของ Accipitridae และ ได้รับการอธิบายครั้งแรก จากนักดูนก ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1801
การกระจายสายพันธุ์ มักพบอยู่ตาม ทุ่งหญ้าเปิดโล่ง หรือหุบเขาที่มีต้นไม้กระจาย ซึ่งค่อนข้างมีความอุดมสมบูรณ์ ของออสเตรเลีย ทั้งยังสามารถพบเห็นได้ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ของควีนส์แลนด์ รัฐแทสเมเนียตอนเหนือ เกาะคิง และ หมู่เกาะช่องแคบทอร์เรส [1]
นกล่าเหยื่อขนาดเล็ก – ขนาดกลาง โดยมีขนาดความยาวลำตัว ประมาณ 28 – 35 เซนติเมตร ปีกกว้างขนาด 80 – 100 เซนติเมตร ซึ่งเพศเมียจะมีน้ำหนัก มากกว่าเพศผู้เล็กน้อย โดยมีน้ำหนักเฉลี่ย 300 กรัม ในขณะที่เพศผู้ มีน้ำหนักเพียง 260 กรัม และ สีขนของทั้งคู่ จะค่อนข้างคล้ายกัน จนแยกเพศได้ยาก
สำหรับขนส่วนหัว และส่วนล่างเป็นสีขาว ลักษณะเด่น มีขอบปีกด้านหน้าเป็นสีดำ ปลายปีกแหลมสีเข้มกว่า ขนตรงหางเป็นสีเทา จะงอยปากสีดำ ตาแดง คอสั้น หางสั้น และขากับเท้า เป็นสีเหลืองทอง หากในขณะกางปีกบินอยู่กลางอากาศ จะมองเห็นสีดำของปีก ได้อย่างชัดเจน
เหยี่ยวขาวเป็นนกนักล่า ที่ชอบล่าเหยื่อเพียงลำพัง หรือล่ากันเป็นคู่ และอาจรวมตัวกัน เป็นฝูงเล็ก ๆ เฉพาะในช่วงเวลา การระบาดของหนู จำนวนมาก เหยี่ยวสามารถล่าหนูได้ มากถึง 70 ตัว ซึ่งมีลักษณะการบินวนไปมา แบบทวนลม เหมือนกับ เหยี่ยวแดง พร้อมกับโฉบลงมา จับเหยื่อทันที
อาหารของเหยี่ยวขาว จะเลือกกินสัตว์ขนาดเล็กเป็นหลัก อย่างเช่น หนู ตั๊กแตน นก กระต่าย โดยหนูและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คิดเป็นอัตรา 90% ของอาหารทั้งหมด ปริมาณการกินหนู ประมาณ 2 – 3 ตัว / วัน ซึ่งระดับการโจมตีเหยื่อ มีโอกาสประสบความสำเร็จ 75% ทั้งยังสามารถกินเหยื่อ ขณะกำลังบินได้อีกด้วย
นกประจำถิ่น แห่งแผ่นดินใหญ่ ออสเตรเลีย สามารถพบเห็นได้ง่าย ในระดับความสูง เหนือน้ำทะเล 1,500 เมตร ทั้งยังสามารถพบใน ทวีปแอฟริกา ทวีปยุโรป และทวีปเอเชียใต้ รวมถึงประเทศไทย ตามเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และ พื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ
การเลือกคู่ครอง ของเหยี่ยวขาว จะจับคู่กันแบบ ผัวเดียวเมียเดียว เกิดขึ้นในช่วง เดือนกรกฎาคม – เดือนธันวาคม โดยเพศผู้จะป้อนอาหาร ให้กับเพศเมีย ขณะกำลังบินอยู่ในอากาศ และเพศเมียจะพลิกคว่ำตัว เพื่อจิกกินอาหาร ในขณะที่กำลังบินอยู่ทั้งคู่เช่นกัน
สำหรับการสร้างรัง ทำมาจากไม้กระดก อยู่บนต้นไม้สูง หรือบริเวณเสาไฟฟ้า โดยจะวางไข่ปริมาณ 2 – 5 ฟอง / ครั้ง ใช้ระยะเวลาในการฟักตัว ประมาณ 34 วัน และลูกนกอยู่ในรัง เป็นระยะเวลา 38 วัน หลังจากนั้น จะสามารถกินอาหารเองได้ ภายใน 7 วัน และพร้อมออกจากรัง ในเวลา 1 เดือน [2]
สถานภาพนกเหยี่ยวขาว จัดอยู่ในสถานะสิ่งมีชีวิต ที่มีความน่ากังวลน้อยที่สุด (Least Concern) ทั้งยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง และสัตว์สงวนของไทย ตามพระราชบัญญัติ พ.ศ. 2535 โดยถูกขึ้นบัญชี CITES หมายเลข 2 [3] ซึ่งพบว่ามีประชากรเพิ่มขึ้น กระจายอยู่ในหลายทวีป เกือบทุกพื้นที่ ยกเว้นพื้นที่แห้งแล้ง ป่ารก และทะเลทราย
ปัจจุบันกลายเป็นสัตว์นักล่า ที่พบเจอบ่อยที่สุด มีอาณาเขตการอาศัยกว้างขวาง บริเวณเขตปลูกข้าวสาลี ทุ่งหญ้า ไร่องุ่น หรือแม้กระทั่งเขตเมือง ที่มีหญ้าปกคลุมริมถนน ในทวีปออสเตรเลีย เนื่องจากจำนวนประชากรเหยี่ยว ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมเหมาะสม และ การเพิ่มขึ้นของประชากรหนู
เหยี่ยวขาว นกป่าสายพันธุ์นักล่า โดดเด่นด้วยขนสีขาว และปีกสีดำสวยงาม ถิ่นอาศัยหลัก ในทวีปออสเตรเลีย และสามารถพบเห็นได้ในไทย มีความสำคัญ ต่อระบบนิเวศหลายพื้นที่ ช่วยกำจัดสัตว์ฟันแทะ หนึ่งในนกเหยี่ยว นักล่าขนาดเล็ก ที่มีฝีมือเก่งกาจ ไม่แพ้กับเหยี่ยวสายพันธุ์อื่นเลย