ส่องสัตว์โลก แพนด้ายักษ์ หมีป่ากินไผ่จากเมืองจีน

แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ เจ้าหมีอ้วนตัวกลมขวัญใจเด็ก ๆ หมีที่ไม่เหมือนหมี แต่เขาว่าน่ารักนั้นเป็นเรื่องจริง สัตว์ที่ใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย ไม่ต้องเดินทางไกล ไม่ต้องออกล่าสัตว์ แค่กินไผ่เป็นอาหารแสนอร่อย แต่เชื่อหรือไม่ว่า? พวกมันมีอัตราเสี่ยงในการสูญพันธุ์ ทั้งยังเป็นสัตว์ประจำเมืองจีนที่เดียวอีกด้วย

แหล่งข้อมูลความเป็นมา แพนด้ายักษ์

แพนด้ายักษ์ (Giant Panda) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จัดอยู่ในวงศ์หมี Ursidae โดยมีถิ่นฐานกำเนิดในประเทศจีน บริเวณเทือกเขาตอนกลาง เขตรักษาพันธุ์แพนด้ายักษ์ แห่งมณฑลเสฉวน อาศัยอยู่กว่าร้อยละ 30 ของแพนด้าทั่วโลก ซึ่งอยู่ในเฉพาะเขตภูเขา 6 แห่งของจีน จากระดับความสูงเหนือน้ำทะเล 3,000 เมตร

การจำแนกสายพันธุ์ แบ่งตามลักษณะกะโหลก รูปแบบสี และพันธุกรรมของประชากร คือ Melanoleuca แพนด้ายักษ์ที่เห็นในปัจจุบัน มีกะโหลกใหญ่ ขนสีดำและสีขาวชัดเจน และ Qinling แพนด้าที่มีกะโหลกเล็กกว่า ขนสีดำกับสีขาว และมีลวดลายสีน้ำตาลอ่อน คาดว่าเคยมีชีวิตมาแล้ว 300,000 ปีก่อน [1]

ลักษณะร่างกาย แพนด้ายักษ์

หมีขนาดใหญ่ ลักษณะขนสีดำและสีขาวโดดเด่น มีวงสีดำบริเวณรอบดวงตา หู ไหล่ และขา โดยมีรูปร่างอ้วนกลม มีน้ำหนักได้มากถึง 100 – 115 กิโลกรัม ความสูง 60 – 90 เซนติเมตร และความยาวลำตัว 1.2 – 1.9 เมตร ซึ่งเพศผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย ประมาณ 10 – 20%

การใช้ชีวิตในป่าธรรมชาติ คาดว่ามีอายุขัย โดยประมาณ 15 – 20 ปี แต่ถ้าหากอยู่ในความดูแลของมนุษย์ เหมือนในสวนสัตว์ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า อาจมีอายุขัยยืนยาวมากถึง 28 – 38 ปี

นิเวศวิทยาด้านอาหาร และพฤติกรรม

แพนด้าเป็นสัตว์ประเภทกินเนื้อ แต่อาหารหลักนั้นชอบกินพืช โดยเฉพาะไผ่ 99% ซึ่งส่วนที่สำคัญมากคือหน่อ อุดมไปด้วยแป้ง และโปรตีนสูง 32% จึงสามารถย่อยแป้ง ได้ดีกว่าสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ซึ่งแพนด้ามีจุลินทรีย์ในลำไส้ ที่ช่วยในการย่อยไซยาไนด์ และป้องกันพิษไซยาไนด์ จากการกินไผ่ดิบได้อีกด้วย

นอกจากนี้การกินอาหารอีก 1% อาจมีแมลง หรือไข่ของสัตว์บางชนิด ที่ช่วยเสริมโปรตีน จำเป็นต่อร่างกาย แต่ถึงอย่างไรแพนด้า จะใช้เวลาในการกินไผ่นานถึง 16 ชั่วโมง / วัน เทียบเท่ากับไผ่ปริมาณ 18 กิโลกรัม และบางครั้งอาจมากถึง 30 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของตัว ที่ไม่เหมือนหมีทั่วไป

พฤติกรรมตามธรรมชาติเป็น สัตว์บก ชอบอยู่รวมตัวกันเป็นสังคม หรือครอบครัว มักตื่นตัวในช่วงเช้า และช่วงพลบค่ำ เพื่อหาอาหาร แต่ถ้าหากไม่มีนักล่า ก็จะตื่นตัวได้ตลอดทั้งวัน เพื่อการกินที่บ่อยขึ้นด้วย สำหรับการสื่อสาร โดยใช้เสียงและกลิ่นเป็นหลัก อย่างเช่น การข่วนและฉี่รดต้นไม้ และส่งเสียงคำราม เป็นต้น

แพนด้ายักษ์ เจ้าหมีขนนุ่มแห่งเมืองจีน

แพนด้ายักษ์

สัตว์ป่าที่มีความน่ารักโดดเด่น นับว่าเป็นสัตว์สัญลักษณ์ แห่งประเทศจีน หมีที่ไม่เหมือนกับหมีป่าทั่วไป เพราะพฤติกรรมแบบไร้พิษสง ชอบกินพืช ไม่ออกล่าสัตว์ และไม่ค่อยชอบกินเนื้อ ทำให้หลายคนหลงรัก รวมถึงร่วมกันอนุรักษ์ เพื่อการเพาะพันธุ์ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยม

อัตราการสืบพันธุ์ และการอนุรักษ์

สำรวจอัตราการสืบพันธุ์ ของแพนด้ายักษ์ มีอัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ เพราะแพนด้าถึงวัยเจริญพันธุ์ ตอนอายุครบ 4 – 7 ปี แต่จะขยายพันธุ์ได้ เมื่อมีอายุครบ 20 ปี โดยตั้งท้องแค่ปีละครั้ง สามารถออกลูกได้ ประมาณ 5 – 8 ตัว แต่ถ้าหากออกลูกเพียง 2 ตัว ตามปกติแล้วจะมีแค่ 1 ตัว ที่มีโอกาสรอดชีวิต

สถานภาพการอนุรักษ์ จัดอยู่ในประเภท สัตว์เสี่ยงต่อการใกล้สูญพันธุ์ โดยคาดว่ามีประชากร มากกว่า 1,864 ตัว (ผลสำรวจในเดือนกรกฎาคม 2021) อาศัยอยู่ในถิ่นกำเนิดประเทศจีน ในขณะที่แพนด้า อีกประมาณ 600 ตัว อาศัยอยู่ในสวนสัตว์ และศูนย์วิจัยเพาะพันธุ์สัตว์ทั่วโลก [2]

แพนด้ายักษ์ นักการทูตระหว่างประเทศ?

แพนด้าจัดว่าเป็นสัตว์ สมบัติชาติของประเทศจีน อย่างเป็นทางการ โดยพบเห็นในป่าธรรมชาติ เพียงแค่ประเทศจีนเท่านั้น ซึ่งแพนด้ายักษ์ที่ถูกเลี้ยงในสวนสัตว์ นั้นถือเป็น “ทูตสันถวไมตรี” โดยทางจีนเป็นผู้ให้ยืม และเป็นเจ้าของแพนด้าทุกตัวบนโลก แม้ว่าจะเกิดเติบโตในประเทศอื่นก็ตาม

แน่นอนว่าแพนด้า กลายเป็นสัตว์เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ในปี พ.ศ. 1228 โดยพระนางบูเช็กเทียน ส่งมอบแพนด้า 1 คู่ เป็นของกำนัลแด่ จักรพรรดิเท็มมุ ประเทศญี่ปุ่น และทางจีนจึงใช้นักการทูตขนฟู เชื่อมสัมพันธ์กับอีกหลายประเทศทั่วโลก มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500

ปัจจุบันแพนด้าอยู่ในสวนสัตว์ 28 แห่ง ของ 22 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย จากสัญญาการเช่าแพนด้า ครั้งละ 10 ปี รวมเป็นเงินค่าเช่า 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ / ปี มีจุดประสงค์เพื่อการวิจัยขยายพันธุ์ เพิ่มจำนวนประชากรแพนด้า และนำกลับคืนสู่ถิ่นกำเนิดเป็นอย่างดี [3]

สรุป แพนด้ายักษ์ “Giant Panda”

แพนด้ายักษ์ สัตว์พื้นเมืองขนนุ่มฟู แห่งจีนแผ่นดินใหญ่ ชอบกินไผ่เป็นหลัก มีอายุขัยยาวนาน มากกว่า 20 ปี ขึ้นชื่อว่าเป็นนักการทูต เชื่อมสายสัมพันธ์ ระหว่างหลายประเทศทั่วโลก โดยผู้คนตระหนักถึงการอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ เพื่อให้หมีแพนด้า อยู่ร่วมกับมนุษย์ไปได้อีกนาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง