แมงกะพรุนกล่อง สัตว์ทะเลมีพิษ แม้รูปร่างภายนอกจะดูงดงาม ราวกับนางฟ้าในท้องทะเล แต่ช่างมีพิษสงรุนแรง สามารถทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เสียชีวิตได้บ่อย มากกว่ากะพรุนทั่วไป อีกทั้งยังพบเห็นได้ง่าย ตามน้ำตื้น และน้ำลึก หากอยากรู้ว่าพวกมัน อันตรายแค่ไหน มีความลับอะไรที่เรายังไม่รู้บ้าง ตามมาดูกัน
แมงกะพรุนกล่อง (Box Jellyfish) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในชั้น Cubozoa ประกอบด้วยสายพันธุ์ อย่างน้อย 50 สายพันธุ์ อาศัยอยู่ในน้ำจืด และน้ำทะเล สามารถพบได้อย่างแพร่หลาย ทั่วมหาสมุทรเขตร้อน และ กึ่งเขตร้อน รวมถึงมหาสมุทรแอตแลนติก และ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก [1]
แมง กะพรุนกล่องโดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายกับ กระดิ่งหรือร่ม ลำตัวใส มีหลายขนาด และหลายสี โดยมีหนวดพิษเป็นเส้นที่ขอบทั้ง 4 มุม มุมละ 15 เส้น ซึ่งแต่ละเส้น อาจยาวได้มากถึง 3 เมตร
และมีเซลล์เข็มพิษ (Nematocyte) ประมาณ 500,000 เล่ม ขดตัวอยู่ภายในหนวดแต่ละเส้น ประกอบด้วยพิษร้ายแรง ส่งผลต่อการเสียชีวิตได้ จึงจัดอยู่ในประเภท สัตว์มีพิษ ที่ไม่ควรเข้าใกล้เด็ดขาด
การล่าเหยื่อของ แมงกะพรุนกล่อง มักชอบกินปลาตัวเล็ก โดยออกล่าอย่างมุ่งมั่น มากกว่าการลอยเคว้ง ซึ่งพวกมันเป็นนักล่าที่ว่ายน้ำเก่ง สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว 1.5 – 2 เมตร / วินาที และสามารถหันตัวขึ้น ได้อย่างรวดเร็ว 180 องศา ภายในไม่กี่จังหวะของการสั่น ซึ่งทำให้หลบสิ่งกีดขวางได้ง่าย
พฤติกรรมการกินอาหาร จะยืดหนวด พร้อมกับเร่งความเร็ว เป็นระยะเวลาสั้น ๆ จากนั้นจะพลิกคว่ำเหยื่อ ให้หัวใจหยุดเต้น ซึ่งทำให้ร่างกายของเหยื่อ ถูกพันไปหนวดมากมาย เหยื่อจะรู้สึกอ่อนเพลีย หมดสติ และจมลงอย่างช้า ๆ และนำเหยื่อเข้าปากได้ทันที
อายุและการเจริญเติบโต ร่างกายของกะพรุนกล่อง ประกอบไปด้วย Calcium Sulfate Hemihydrate ที่ลักษณะเป็นชั้นต่อเนื่องกัน โดยเกิดขึ้นมาทุกวัน และเพิ่มระยะของขา (IPD) ประมาณ 3 มิลลิเมตร / วัน ซึ่งสามารถยาวได้สูงสุด 155 มิลลิเมตร เมื่ออายุครบ 88 วัน โดยตามธรรมชาติ มีอายุขัยเพียง 3 เดือน
รู้หรือไม่? บรรดาแมง กะพรุน มีวันที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ คือ “วันแมง กะพรุนโลก” เกิดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน ของทุกปี เพื่อการเฉลิมฉลองของสัตว์ทะเล ที่มีชีวิตบนโลก ยาวนานหลายล้านปี ทั้งยังเป็นศูนย์รวมความลับ แห่งใต้ท้องทะเลลึก ที่รอให้หลายคนมาค้นพบ
ที่มา: เรื่องน่ารู้ของแมงกะพรุนในวันแมงกะพรุนโลก [2]
แน่นอนอยู่แล้วว่า กะพรุนกล่องเป็นสัตว์ที่มีพิษ หนึ่งในสัตว์อันตรายที่สุดในโลก แต่ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์จะเป็นอันตราย บางชนิดอาจทำให้เกิด อาการเจ็บปวด คันเล็กน้อย เป็นตะคริว หรือกล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้จมน้ำง่ายมากขึ้นเท่านั้น โดยหนวดพิษของกะพรุนกล่อง ชาวประมงเรียกกันว่า จอกแก้ว
พบเห็นทั่วไปในทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน มักลอยอยู่ตามกระแสน้ำ ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก ซึ่งมีพิษต่อการโจมตีเข้าหัวใจ ระบบประสาท และเซลล์ผิวหนัง ทำให้เจ็บปวดสาหัส พิษสามารถซึมเข้ากระแสเลือดได้ ส่วนใหญ่จะเกิดอาการอ่อนเพลีย หมดสติ จนอาจเสียชีวิต จึงควรนำตัวส่งโรงพยาบาล ให้เร็วที่สุด [3]
แมงกะพรุนกล่อง สัตว์ทะเลสวยงาม ลำตัวโปร่งใส มีหนวดเป็นพิษ ประกอบด้วย เข็มพิษรุนแรงกว่า 500,000 เล่ม หนึ่งในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พบเห็นได้ทั่วไปในน้ำจืด และน้ำทะเลเขตร้อน ค้นพบหลักฐาน มีชีวิตมานานกว่า 500 ล้านปี หากพบเห็นไม่ควรเข้าใกล้ หรือสัมผัสโดนอย่างเด็ดขาด