สำรวจข้อมูล แมงกะพรุนไฟ ตำแยทะเลมีพิษถึงตาย

แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟ สัตว์ทะเลสีสันสวยงาม เจ้าของฉายา “เจลลี่สวยใสไร้สมอง” แม้ร่างกายจะดูน่ารักน่าจับ แต่พวกมันมีพิษค่อนข้างแรง ทำให้สิ่งมีชีวิตบาดเจ็บ ปวดแสบปวดร้อนสาหัส อาจถึงขั้นเสียชีวิตมาบ่อยครั้ง อยากรู้แล้วว่าพวกมัน มีจุดเด่นอะไร ใช้ชีวิตแบบไหน และอันตรายเพียงใด ติดตามกันต่อเลย

ทำความรู้จักชีวิตมีพิษสง แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟ (Chrysaora) หรือเรียกว่า ตำแยทะเล มีชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ว่า Chrysaora Species สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกแมงกะพรุนทะเลชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในวงศ์ของ Pelagiidae และจัดอยู่ในชั้น ของแมงกะพรุนแท้ โดยที่มาของชื่อหมายถึง “ผู้ถืออาวุธทองคำ”

จากเทพนิยายกรีก ซึ่งไครซาออร์เป็นพี่ชาย ของม้าเพกาซัส และ เป็นลูกชายของเทพโพไซดอน กับเมดูซ่า ทั้งนี้ถูกแบ่งออกเป็น 16 ชนิด กระจายอยู่ในเขตน้ำกร่อย อ่าวน้ำตื้น น่านน้ำชายฝั่ง และ ก้นทะเลลึก [1] โดยส่วนมากจะอยู่บริเวณผิวน้ำ ในช่วงเวลากลางวัน และ จะลงสู่ก้นทะเลเพื่อหลับ ในช่วงเวลากลางคืน

ลักษณะเด่นของแมง กะพรุนไฟ

ลักษณะโดยทั่วไป รูปร่างคล้ายกับร่ม มีลำตัวโปร่งใส เป็นสีส้ม สีแดง หรือสีชมพู ด้านบนเป็นจุดสีขาว มีหนวดเรียวยาวเส้นเล็ก ๆ ใต้ท้อง ภายในเป็นเซลล์เข็มพิษ (Cnidocyte) ประมาณ 1 ล้านเซลล์ อยู่ในประเภทของ สัตว์มีพิษ ซึ่งมากกว่าเซลล์ของงูพิษ มีระบบฝาปิด – เปิด หากโดนกระตุ้นจะทำให้เข็มพิษ ถูกยิงออกมาทันที

ร่างกายของแมงกะพรุนไฟ ประกอบด้วย เนื้อเยื่อ 2 ชั้น มีสารคล้ายกับวุ้น (Mesoglea) ที่มีปริมาณน้ำมากถึง 95% ทำให้มีความหนาแน่น สามารถลอยตัวในน้ำได้ แบบไม่ต้องใช้พลังงานมาก นอกจากนั้นพวกมัน ยังไม่มีสมอง ไม่มีปอด และไม่มีหัวใจ แต่สามารถรับรู้ได้ จากเส้นประสาท ที่กระจายอยู่ทั่วลำตัว

การจำแนกสายพันธุ์ทั่วโลก

สำหรับสายพันธุ์ ของแมงกะพรุนไฟ เป็นชนิดที่ได้รับการยอมรับในสกุลหลัก โดยมีลักษณะและสีคล้ายกัน อาจแตกต่างกัน ตามแหล่งอาศัย คือ แมงกะพรุนไฟดำ แมงกะพรุนเข็มทิศสีม่วง แมงกะพรุนไฟแอตแลนติก แมงกะพรุนทะเลอินโดนีเซีย แมงกะพรุนลายทางสีม่วง

แมงกะพรุนเข็มทิศเบงเกลา แมงกะพรุนแอตแลนติก แมงกะพรุนทะเลเหนือ (แมงกะพรุนสีน้ำตาล) แมงกะพรุนทะเลญี่ปุ่น แมงกะพรุนทะเลขนาดเล็ก แมงกะพรุนทะเลอเมริกาใต้ และ แมงกะพรุนทะเลแอตแลนติก (แมงกะพรุนทะเลชายฝั่งตะวันออก)

รวมเรื่องมหัศจรรย์ แมงกะพรุนไฟ

แมงกะพรุนไฟ

สัตว์ทะเลที่ถือกำเนิด มานานกว่า 500 ล้านปี เติบโตมาด้วยวิวัฒนาการหลากหลาย ซึ่งพวกมันมีความแตกต่างกัน ของขนาด รูปทรง และพฤติกรรม เรียกว่าหลากหลายมากที่สุด และครั้งหนึ่งพวกมัน เคยยึดครองทะเลมาแล้ว ที่มีจำนวนหนาแน่นมาก เนื่องจากการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว และบางชนิด ไม่ต้องอาศัยเพศอีกด้วย

แมงกะพรุน ไฟ มีความลับอะไรที่เราไม่รู้?

  • ลำตัวใสช่วยพรางตัว : การดำรงชีวิตท่ามกลางทะเลเปิด จากลำตัวที่โปร่งใส มีสีสันเพียงเล็กน้อย จะทำให้สามารถพรางตัว กลมกลืนไปกับน้ำทะเล ได้เป็นอย่างดี เพื่อเลี่ยงสายตาของนักล่า
  • แมงกะพรุนไม่สร้างเม็ดสี : เป็นเรื่องที่ดีที่แมงกะพรุน ไม่มีกระบวนการ ในการสร้างเม็ดสี ทำให้สามารถนำพลังงานส่วนนั้น ไปใช้พัฒนาส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้แทน
  • หายใจแต่ไม่มีหลอดเลือด : ระบบการหายใจ ไม่จำเป็นต้องอาศัย ระบบหลอดเลือด เพราะผิวมีลักษณะค่อนข้างบาง ส่งผลให้ออกซิเจน สามารถซึมผ่านเนื้อเยื่อ เข้าร่างกายได้โดยตรง
  • ระบบย่อยอาหารรูเดียว : การทำงานของ ระบบย่อยอาหาร มีลักษณะเป็นโพรง (Gastrovascular Cavity) ซึ่งมีรูเปิดเพียงทางเดียว สำหรับกิน และสำหรับขับถ่าย เรียกว่ามีปากกับก้น เป็นรูเดียวกัน
  • ข็มพิษยิงเหมือนปืนสไนเปอร์ : ระบบเข็มพิษ จะทำงานด้วยการถูกสัมผัส สามารถยิงออกได้รวดเร็ว ใช้ระยะเวลาน้อยกว่า 0.01 วินาที เท่ากับความเร่ง 40,000g และแม้แต่แมงกะพรุนไฟ ที่ตายไปแล้ว ก็สามารถใช้หนวด และยิงเข็มพิษได้เช่นกัน
  • เข็มแมงกะพรุนไม่ทำร้ายพวกเดียวกัน : สายพันธุ์แมงกะพรุนไฟ หรือแมงกะพรุนพิษทั่วไป จะไม่ยิงเข็มพิษใส่ตัวเอง หรือเพื่อนร่วมสายพันธุ์ รวมถึงวัสดุไม่มีชีวิต เพราะพวกมันมีระบบ ตรวจจับสารเคมี (Chemoreceptor) เป็นตัวช่วยบ่งบอกว่า ต้องยิงเข็มพิษออกมาหรือไม่

ที่มา: ร่างกายมหัศจรรย์ของน้องเยลลี่ สวยใสไร้สมอง [2]

แมงกะพรุนไฟ ตัวอันตรายที่สุดในโลก

ชนิดของแมงกะพรุน ที่อันตรายถึงแก่ชีวิต สามารถพบได้ใน ทะเลของไทย อย่างเช่น แมงกะพรุนกล่อง และ แมงกะพรุนไฟหมวกโปรตุเกส มีพิษร้ายแรงมากที่สุดในโลก หรือที่เราเรียกกันว่า “เรือรบโปรตุเกส” (Portuguese man-of-war) ซึ่งส่วนมากพบใน ออสเตรเลีย แต่สามารถพัดเข้าสู่ ทะเลไทยแค่บางฤดูกาล

ความอันตรายที่ได้สัมผัส จะเกิดอาการปวดแสบปวดร้อน หอบ หายใจไม่ออก ส่งผลต่อระบบผิวหนัง และระบบประสาทหัวใจ โดยพิษสามารถแพร่กระจาย เข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ห้ามสัมผัสหรือนวดแผล ควรล้างทำความสะอาด ด้วยน้ำทะเลเท่านั้น แนะนำว่าต้องนำตัว ส่งโรงพยาบาลทันที [3]

สรุป แมงกะพรุนไฟ “Chrysaora”

แมงกะพรุนไฟ ชาวทะเลมักเรียกกันว่า ตำแยทะเล แหล่งอาศัยบริเวณผิวน้ำ น่านน้ำชายฝั่ง ของมหาสมุทรรอบโลก ลำตัวโปร่งใสสวยงาม ส่วนมากมีสีส้มเล็กน้อย หนวดพิษยาวมากมาย พร้อมยิงเข็มพิษ ใส่สิ่งที่มาสัมผัสโดยทันที หนึ่งในสัตว์น้ำพิษสงร้ายแรง ที่อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่าย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง