แมงดาทะเล สัตว์ทะเลหน้าตา และรูปร่างแปลกประหลาด ลำตัวเป็นปล้องครึ่งวงกลม หางยาวแหลมคมเหมือนเข็ม ซึ่งภายนอกมองดูแล้วช่างน่ากลัว แต่ใครจะรู้บ้างว่า ส่วนที่อันตรายที่สุด ไม่ใช่หางที่แหลมแต่อย่างใด รวมเกร็ดความรู้มากมาย และภาวะอันตราย จากสายพันธุ์ต่าง ๆ ของแมงดาทะเล
แมงดาทะเล (Horseshoe Crab) สัตว์ขาปล้อง จัดอยู่ในวงศ์ของ Limulidae โดยไม่ใช่สัตว์ตระกูลปู หรือจำพวกกุ้ง แต่เป็นสัตว์จำพวก Chelicerates ซึ่งมีความใกล้ชิดมาก กับปูเกือกม้า และ แมงป่องทะเล แหล่งอาศัยอยู่ในระดับน้ำตื้น บริเวณป่าชายเลน และ ตามพื้นชายฝั่งของทะเลทั่วไป [1]
วิวัฒนาการจากการศึกษา หลักฐานฟอสซิล กำเนิดมาตั้งแต่ช่วงตอนปลาย ของยุคออร์โดวิเชียน ประมาณ 445 ล้านปีก่อน และปรากฏตัวครั้งแรก เมื่อประมาณ 250 ล้านปี และด้วยการแผ่รังสี ตามสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดสายพันธุ์ย่อยกว่า 22 สายพันธุ์ แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 4 สายพันธุ์เท่านั้น
ลักษณะเป็นแบบเดียวกับ สัตว์ขาปล้องทั้งหมด โดยร่างกายประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนหัว (Prosoma) และ ส่วนอก (Opisthosoma) ลักษณะเป็นกระดองแข็งแรง รูปทรงครึ่งวงกลม มีกล้ามเนื้อทั้งมด 750 มัด หัวใจยาวเกือบเท่าลำตัว และหางเรียวยาว ปลายแหลมคม สำหรับการเคลื่อนที่ และการทรงตัว
การสืบพันธุ์แมงดาทะเล เกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน (เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนกันยายน) โดยเพศเมียขึ้นมาวางไข่ ตามชายหาด 2,000 – 30,000 ฟอง แล้วเพศผู้จะปล่อยเชื้อ เข้าผสมกับไข่ในหลุมทันที จากนั้นจะเติบโตเป็นตัวอ่อน ลอยไปตามกระแสน้ำ จนถึงตัวโตเต็มวัย และ มีการลอกคราบ 10 – 20 ครั้ง / ปี
สำหรับอัตราการรอดชีวิต ของลูกแมงดาทะเล ภายใน 1 ปีแรก จะมีโอกาสเพียง 0.003% หรือเทียบกับ 30 ตัว จากทั้งหมด 1,000,000 ตัว ทั้งยังมีศัตรูทางธรรมชาติ อย่างเช่น นกนางนวล ปลาทะเลขนาดใหญ่ และ เต่าทะเล โดยแมงดาทะเล ค่อนข้างเป็นสัตว์ที่เติบโตช้า แต่มีอายุขัยยาวนานเฉลี่ย 40 ปี
อาหารหลักส่วนมาก พบได้ตามพื้นมหาสมุทร ชอบกินจำพวกหนอน หอย ไส้เดือนทะเล หรือบางครั้งอาจกินกุ้ง และปลาตัวเล็ก โดยจะเป็นช่วงออกหากิน ในตอนกลางคืน เคลื่อนที่ไปตามพื้นน้ำ โดยการว่ายน้ำตามก้นทะเล และพลิกตัวกลับในขณะว่ายน้ำได้ด้วย
สัตว์ทะเลที่เป็นหนึ่งใน สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ โดยถือกำเนิดมานานกว่า 400 ล้านปีก่อน ทั้งยังมีวิวัฒนาการต่อเนื่อง ทั้งโครงสร้าง และ ลักษณะทางกายภาพ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง จากของบรรพบุรุษ ค่อนข้างน้อยมาก หรือแทบจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิมเลย และสามารถพบเห็นง่ายในปัจจุบัน
แมงดาทะเลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย สามารถพบได้ 2 ชนิด มีทั้งมีพิษและไม่มีพิษ ดังต่อไปนี้
ที่มา: แมงดาทะเล(Horseshoe Crab) [2]
แมงดาทะเลชนิดที่มีพิษ จัดอยู่ในประเภท สัตว์มีพิษ หากรับประทานเข้าไป สารพิษจะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ ซึ่งแมงดาทะเล มีการออกฤทธิ์ยับยั้ง Sodium Channel ในส่วนของเซลล์ประสาท เมื่อรับประทานไข่มีพิษ จะทำให้ร่างกายอ่อนแรง ชาตามร่างกาย กล้ามเนื้อกระตุก วิงเวียนศีรษะ ระดับความดันโลหิตต่ำ
หากในสภาพอาการร้ายแรง จะเกิดอาการหัวใจเต้นช้า และภาวะหยุดหายใจชั่วคราว ประมาณ 5 นาที – 3 ชั่วโมง หรือหากสมองขาดออกซิเจน อาจเสี่ยงเสียชีวิต ภายใน 6 – 24 ชั่วโมง โดยการรักษา ยังไม่มียาเฉพาะ มีเพียงแค่การรักษาประคองอาการ และการป้องกันพิษ เบื้องต้นเท่านั้น [3]
แมงดาทะเล สัตว์ทะเลชนิดขาปล้อง พบเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำตื้น ป่าชายเลน และชายฝั่งทะเล ดำรงชีวิตอยู่บนโลกมานาน 445 ล้านปี มีทั้งสายพันธุ์มีพิษร้ายแรง จากไข่แมงดาทะเล และสายพันธุ์ไม่มีพิษ ในไทยพบเพียงแค่ 2 สายพันธุ์เท่านั้น และมีอายุขัยยืนยาวมากถึง 40 ปี