สำรวจข้อมูล แมงป่อง‎ สุดยอดนักต่อยพ่นพิษใกล้ตัว

แมงป่อง

แมงป่อง หนึ่งในสัตว์อันตรายที่อยู่รอบตัวเรา พบเห็นได้ง่ายตามบ้านเรือน ถึงแม้จะมีขนาดตัวเล็ก แต่พิษสงค่อนข้างร้ายแรง สามารถทำคนเสียชีวิต ได้เป็นจำนวนมาก แต่ก็น่าโล่งใจ ที่แมงป่องสายพันธุ์มีพิษ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ซึ่งพวกมันมีพิษสำหรับล่าเหยื่อ และการป้องกันตัวเองชั้นยอด

รู้จัก แมงป่อง‎ สัตว์ขาปล้องหลายสายพันธุ์

แมงป่อง (Scorpion) สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกสัตว์ขาปล้อง ในชั้นของ Arachnida สามารถพบได้ทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา โดยมีสายพันธุ์มากกว่า 2,500 สายพันธุ์ พบซากบรรพบุรุษถือกำเนิด มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ประมาณ 440 ล้านปี ที่มีลำตัวใหญ่ และยาวมากกว่า 90 เซนติเมตร [1]

ลักษณะและขนาดทั่วไป แมงป่อง‎

ลักษณะทางกายภาพของแมงป่อง ส่วนมากมีขนาดเล็ก ลำตัวเป็นปล้องสีดำ สีน้ำตาลแดง หรือสีน้ำตาลเหลือง มีส่วนหัวกับอกติดกัน ประกอบด้วย 8 ขา โดยความยาวของลำตัว ประมาณ 2 – 10 เซนติเมตร ท้องยาวออกเป็นหาง สำหรับใช้ต่อย มีความยาวหางเฉลี่ย 3 – 9 เซนติเมตร

พฤติกรรมและการล่าอาหาร

การดำรงชีวิตตามธรรมชาติ แมงป่อง ไม่ชอบแสงสว่าง และอยู่ในพื้นที่มีอุณหภูมิ 11 – 40 องศาเซลเซียส แต่สามารถอยู่รอดได้ ในอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง มากถึง -50 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงในทะเลทราย มากกว่า 45 – 50 องศาเซลเซียส ซึ่งมีการปรับตัวหลายด้าน ให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดี

การล่าอาหารของแมงป่อง เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืน ตามโพรงไม้ และรอยแตกร้าวของหิน ส่วนช่วงเวลากลางวัน จะหากินตามเปลือกไม้เป็นหลัก ซึ่งพวกมันใช้ปาก ขา และกรงเล็บ สำหรับขุดหาอาหาร กินสัตว์ขนาดเล็ก อย่างเช่น แมงมุม หนอน กิ้งกือ ตะขาบ และแมลงหลายชนิด โดยเน้นกินเหยื่อที่ยังมีชีวิตอยู่

แมงป่อง‎ สัตว์ตัวเล็กแต่พิษสงเกินคาด

แมงป่อง

ในประเทศไทย สามารถพบเห็นแมงป่องได้ 11 ชนิด โดยส่วนมากเป็น แมงป่องช้าง (มีพิษอ่อน สามารถนำมาบริโภคได้) แมงป่องเปลือกไม้ (มีพิษอ่อนมาก และต่อยคนไม่เข้า) และ แมงป่องบ้าน (มีพิษรุนแรงมากที่สุดในไทย แต่ไม่เสียชีวิต) นอกจากนี้ยังมีอีกกว่า 100 ชนิด อาศัยอยู่ในป่า พบเจอค่อนข้างยาก

การทำงานของพิษ แมงป่อง

ร่างกายของแมงป่อง ถูกปกคลุมไปด้วยเส้นขนเล็ก ๆ จำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณปล้องพิษ ทำหน้าที่ในการรับรู้การเคลื่อนไหว ภายในอากาศรอบตัว พวกมันจึงค่อนข้างไวต่อเสียง มักชูหางพิษขึ้นมาทันที และสามารถฉีดพิษ โดยการต่อยเข้าผิวหนังได้อย่างแม่นยำ และจัดอยู่ในประเภท สัตว์มีพิษ

พิษแมงป่องชนิด Neurotoxin ประกอบด้วยโปรตีน และเอนไซม์ มีผลต่อระบบประสาท แต่จะมีเพียงส่วนน้อยที่ส่งผลต่อระบบเลือด ทั้งยังไม่สามารถทำให้คนเสียชีวิตได้ แต่ก็จะมีชนิดที่ร้ายแรง พบมากในอเมริกา แอฟริกา และเม็กซิโก เคยถูกบันทึกการโดนต่อยกว่า 5,000 คน ถึงแก่ชีวิตภายใน 6 – 7 ชั่วโมง

วิธีแยกแมงป่องชนิดมีพิษรุนแรง และชนิดมีพิษอ่อน โดยสังเกตง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • แมงป่องมีพิษแรง : หางมีลักษณะยาว และใหญ่กว่าก้าม มีประสิทธิภาพสูง เห็นผลเร็ว จึงมีก้ามขนาดเล็กมาก หากโดนต่อยจะมีอาการ บวมแดงอย่างหนัก ปวดแสบปวดร้อนสาหัส เวียนศีรษะ มีไข้ขึ้นสูง และอาจถึงแก่ชีวิตในบางชนิด
  • แมงป่องมีพิษอ่อน : ก้ามมีลักษณะใหญ่กว่าหาง สำหรับใช้หนีบศัตรูให้นาน และพิษออกฤทธิ์ช้า หากโดนต่อยจะบวมแดงเล็กน้อย อาการคันเป็นผื่น หรือบางคนที่ไม่แพ้ อาจไม่แสดงอาการใด ๆ

ที่มา: Kingdom Animalia (invertebrates) Species3แมงป่อง [2]

พิษ แมงป่อง‎ ราคาสูงแถมมีประโยชน์?

จากพิษสงที่ค่อนข้างรุนแรง ในช่วงหลายปีผ่านมา หลายประเทศนิยม เพาะเลี้ยงแมงป่อง สำหรับการสกัดพิษเพื่อการค้าขาย ทั้งยังให้ราคาสูงมาก จึงมีความต้องการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้แมงป่อง เสี่ยงต่อการเป็นสัตว์สูญพันธุ์อย่างรวดเร็ว ทั้งจากการทำลายระบบนิเวศ และผลกระทบทางอ้อม ของการล่าสัตว์

โดยสถาบันวิจัยด้านพิษ แมงป่อง เปิดเผยว่าพิษที่ถูกสกัดออกมา เป็นประจำทุกวัน อาจไม่ตรงตามความต้องการ และเสี่ยงต่อชีวิตของผู้ซื้อ ซึ่งสายพันธุ์แมงป่อง ที่มีมากกว่า 2,500 ชนิด มีเพียงแค่ประมาณ 50 ชนิด ที่พิษสามารถฆ่าคนได้เท่านั้น และสามารถสกัดพิษ มาได้เพียง 1 – 2 มิลลิกรัม / ครั้ง

สำหรับคุณประโยชน์ ถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์ ช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง และเป็นยารักษาโรคอัมพาต ซึ่งพิษของแมงป่องเดธสตอลเกอร์ (Death Stalker) เป็นชนิดที่พิษรุนแรง และโจมตีเร็วมากที่สุด เหมือนกับโดนแส้ฟาด 130 เซนติเมตร / วินาที โดยมีมูลค่าของพิษ ราคาขายสูงถึง 39 ล้านเหรียญสหรัฐ / แกลลอน [3]

สรุป แมงป่อง‎ “Scorpion”

แมงป่อง สัตว์ขาปล้องขนาดเล็ก ประเภทมีพิษ พบเห็นทั่วไปตามซอกไม้ หรือรอยแตกของหิน กระจายสายพันธุ์มากมาย อยู่ในทุกสภาพแวดล้อมทั่วโลก มีทั้งชนิดมีพิษอ่อน และพิษแรงถึงแก่ชีวิต นอกจากนั้นพิษแมงป่องยังมีประโยชน์รักษาโรค สำหรับทางการแพทย์อีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง