แรดขาว รวบรวมความรู้มากมาย เกี่ยวกับแรดขนาดใหญ่ แห่งผืนป่าแอฟริกา พี่ใหญ่หัวใจเป็นมิตร ไม่ได้ดุร้ายน่ากลัวอย่างที่คิด ชวนมาศึกษาลักษณะ พฤติกรรมประจำวัน การสืบพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ มาจากสาเหตุอะไร และมีจำนวนประชากรในโลก มากน้อยแค่ไหน พามารู้คำตอบกัน
แรดขาว (White Rhinoceros) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สายพันธุ์แรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยพบมากในทุ่งหญ้าสะวันนา ของทวีปแอฟริกา ประกอบด้วย 2 สายพันธุ์ย่อย คือ แรดขาวเหนือ (อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของประเทศยูกันดา เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว) และ แรดขาวใต้ (อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาใต้ 98.5% คาดมีประชากร ประมาณ 17,480 ตัว) [1]
แรดขาวเป็น สัตว์บก ขนาดใหญ่รองจาก ช้างแอฟริกา โดยมีหัวและร่างกายใหญ่ คอสั้น อกกว้าง ลักษณะความยาวลำตัว 3.7 – 4.2 เมตร ความยาวหาง 50 – 70 เซนติเมตร ความสูง 1.5 – 1.9 เมตร นอของแรดยาว 90 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 1,400 – 3,600 กิโลกรัม ซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ย มากกว่า ฮิปโปโปเตมัส เล็กน้อย
สีของลำตัว มีตั้งแต่สีน้ำตาลแกมเหลือง ไปจนถึงสีเทาเข้ม และสีเทาอ่อน โดยมีขนเฉพาะขอบหู และขนหางเท่านั้น ทั้งยังมีปากกว้าง สำหรับการกินพืช มีหูที่สามารถขยับได้ เพื่อรับสัญญาณเสียงรอบตัว และมีจมูกที่กว้างเป็นโพรงมากที่สุด ในบรรดาสัตว์บก ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าสมองทั้งหมด
แรดขาวเป็นสัตว์สังคม อยู่รวมกันเป็นฝูงไม่เกิน 14 ตัว กินพืชเป็นหลัก มักชอบกินหญ้าเมล็ดสั้น โดยดื่มน้ำปริมาณ 2 ครั้ง / วัน แต่สามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน 4 – 5 วัน โดยที่ไม่ต้องดื่มน้ำ และใช้เวลากับการนอนหลับเพียง 1 ใน 3 ส่วนของชีวิต ด้วยการนอนแช่โคลน เพื่อคลายความร้อน และกำจัดแมลง
พฤติกรรมเด่น ของแรดขาวจ่าฝูง จะทำเครื่องหมาย ในอาณาเขตของตนเอง ด้วยการปัสสาวะและอุจจาระ มีมูลวางเป็นกอง ประมาณ 20 – 30 กอง เพื่อเตือนแรดขาวตัวอื่น ว่าไม่ให้เข้ามายุ่ง นอกจากนั้นบางตัว อาจเลือกทำพฤติกรรม การปัสสาวะรดพื้นที่ ประมาณ 10 ครั้ง / ชั่วโมง บริเวณรอบอาณาเขตทุก 30 เมตร
การสืบพันธุ์แรดขาว พร้อมผสมพันธุ์เมื่ออายุครบ 7 – 10 ปี โดยคู่ผสมพันธุ์จะอยู่ด้วยกัน 5 – 20 วัน หลังจากนั้นตัวเมียจะขับไล่ตัวผู้ จนแยกทางกัน ซึ่งเพศเมียตั้งท้องราว 16 เดือน และลูกแรดขาว จะมีน้ำหนัก ประมาณ 40 – 65 กิโลกรัม อยู่ติดกับแม่ตลอดเวลา และสามารถมีอายุขัยได้นาน 40 – 50 ปี
เจ้าตัวโตหัวใจแข็งแกร่ง สัตว์ป่าแห่งทุ่งหญ้าสะวันนา ที่มีนิสัยเป็นมิตร และไม่ดุร้าย อย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่กลับเป็นสัตว์ที่ถูกจับตามอง ในการล่าสัตว์เป็นอย่างมาก จนเกิดการสูญพันธุ์ของบางสายพันธุ์ เราพามาค้นหาคำตอบ สาเหตุของการใกล้สูญพันธุ์ จำแนกสายพันธุ์ต่าง ๆ และประชากรปัจจุบัน
ตั้งแต่อดีตแรดขาวมักถูกล่าสัตว์ โดยไม่ได้รับการควบคุม เสี่ยงต่อการถูกล่าเป็นพิเศษ เพื่อเอานอแรดไปค้าขายแบบผิดกฎหมาย เพราะเป็นสัตว์ใหญ่ ที่มีนิสัยไม่ค่อยก้าวร้าว อยู่รวมกันเป็นฝูงมองเห็นได้ง่าย ทั้งยังมีสายตาไม่ดีอีกด้วย ทำให้แรดขาวมีจำนวนลดลงอย่างมาก [2]
ปัจจุบันแรดขาว นับว่าเป็นกลุ่มสัตว์ป่า ที่ประสบความสำเร็จ ด้านการอนุรักษ์ สามารถฟื้นตัวจากภาวะใกล้สูญพันธุ์ได้ จากการผสมเทียมแรดขาวเหนือ ที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว และจัดทำโครงการผสมเทียม ของแรดขาวเหนือ ที่เหลือเพียง 2 ตัว สุดท้ายบนโลก โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ
ข้อเท็จจริงของแรดทั่วโลก จำแนกสายพันธุ์ 5 ชนิด จำนวนประชากร และสถานะอนุรักษ์ ดังต่อไปนี้
ที่มา: Rhinos Family: Rhinoceridae [3]
แรดขาว สัตว์ป่าสายพันธุ์แรดขนาดใหญ่ ประจำทุ่งหญ้าสะวันนา แห่งทวีปแอฟริกา แบ่งเป็นสายพันธุ์ 2 ชนิดบนโลก พบประชากรมากที่สุด ในทวีปแอฟริกาใต้กว่า 98.5% โดยถูกจัดอยู่ในประเภท สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ และห้ามล่าสัตว์นำไปค้าขายทุกกรณี