ส่องสัตว์ทะเล โลมา เพื่อนแสนดีแห่งมหาสมุทร

โลมา

โลมา สัตว์ที่มีบทบาทสำคัญ ในระบบนิเวศท้องทะเล และอยู่ร่วมกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน ทั้งยังเป็นสัตว์ในตำนานเทพเจ้ากรีก ที่ชาวกรีกโบราณนับถือ เพราะคอยช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ ปัจจุบันโลมาเป็นสัตว์ยอดนิยม สำหรับชมเพื่อความสวยงาม และมีอายุขัยยืนยาวอีกด้วย

สำรวจชีวิตอันน่ามหัศจรรย์ของ โลมา

โลมา (Dolphin) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในกลุ่มของ สัตว์น้ำ จัดอยู่ในวงศ์ Delphinidae ประกอบด้วย 40 สายพันธุ์ อาศัยอยู่ทั่วไปในมหาสมุทรเขตน้ำอุ่น และเขตร้อน แต่บางชนิดอาศัยใน อากาศหนาวเย็น

โดยค้นพบสัตว์ต้นตระกูลของโลมา เป็นวาฬยุคดึกดำบรรพ์ “Archaeoceti” ที่อพยพลงสู่ทะเลครั้งแรก ตั้งแต่ 49 ล้านปีก่อน จนกลายมาเป็น สัตว์อาศัยอยู่ในน้ำอย่างสมบูรณ์ [1]

อธิบายลักษณะกายวิภาค โลมา

โลมาเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างใหญ่ คล้ายกับตอร์ปิโด โดยกล้ามเนื้อคอไม่ยืดหยุ่น ส่วนหัวโป่งพอง จมูกยาว ดวงตาค่อนข้างเล็ก ฟันแหลมคม สำหรับการจับเหยื่อเคลื่อนที่เร็ว ขาเป็นครีบ และมีครีบหาง มีความยาวลำตัว ตั้งแต่ขนาด 1.7 เมตร และน้ำหนัก ประมาณ 50 กิโลกรัม

พฤติกรรม สติปัญญา และอาหาร

พฤติกรรมของโลมา เป็นสัตว์สังคมสูง อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงมากถึง 12 ตัว หรืออาจมากกว่า 1,000 ตัว (หากมีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์) ซึ่งพวกมันช่วยกันดูแล และปกป้องสมาชิกอ่อนแอในฝูง มักสื่อสารกันด้วยการใช้เสียงคลิก เสียงเหมือนนกหวีด การสัมผัสกัน และท่าทางต่าง ๆ

สติปัญญาโลมา สามารถเรียนรู้ จากการฝึกสอนได้ง่าย เทียบเท่ากับการรับรู้ของเด็กเล็ก ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีเซลล์ประสาทรูปกรวย ค่อนข้างยาว คล้ายกับสมองของมนุษย์ ล้วนเกี่ยวข้องกับ การตระหนักรู้ในตนเอง การตัดสินใจ การแสดงอารมณ์ต่าง ๆ การจดจำพฤติกรรมทางสังคม และทฤษฎีของจิตใจ

อาหารหลัก ชอบกินปลา และปลาหมึก โดยใช้ทักษะการล่าเหยื่อ ด้วยการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว และรวดเร็ว มีอัตราความเร็ว ประมาณ 55 – 58 กิโลเมตร / ชั่วโมง ซึ่งการล่าเหยื่อมี 2 วิธี คือ

  • การต้อนฝูงปลาเป็นกลุ่มเล็ก : การว่ายน้ำต้อนให้ฝูงปลา เหลือแค่กลุ่มเล็ก ๆ และโลมาแต่ละตัว จะผลัดกันกินลูกปลา ที่กำลังว่ายน้ำอย่างตื่นตระหนกตกใจ
  • การต้อนเข้าหาน้ำตื้น : การว่ายต้อนทั้งฝูงเข้าหาน้ำตื้น เพื่อให้ง่ายต่อการจับปลา ทั้งนี้ยังมีรายงานว่า โลมาร่วมมือกับมนุษย์ โดยการต้อนปลาเข้าชายฝั่ง พร้อมกับส่งสัญญาณ ให้ชาวประมงทอดแหออกไป และโลมาจะได้ค่าตอบแทน เป็นปลาจำนวนหนึ่ง ที่หนีออกจากแหได้

ความสัมพันธ์มนุษย์กับ โลมา ตั้งแต่โบราณ

โลมา

สัตว์ที่ขึ้นชื่อว่าแสนฉลาด และเป็นมิตรกับมนุษย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยจับปลา ให้ชาวประมงแล้ว ความฉลาดของมัน ยังพยายามช่วยเหลือคนใกล้จมน้ำ และว่ายวนนักดำน้ำ หากมีฉลามเข้ามาใกล้อีกด้วย นั่นอาจเป็นเพราะ อยากเข้ามาเล่นสนุกเท่านั้น หรือสัญชาตญาณความเป็นแม่ ที่คอยดันศพลูกตัวเองเอาไว้ ใกล้กับผิวน้ำให้มากที่สุดนั่นเอง

ความลับการนอนหลับของ โลมา

เคยสงสัยกันหรือไม่? โลมานอนหลับอย่างไร และนอนตอนไหน แน่นอนว่าพวกมัน เป็นสัตว์ในมหาสมุทร ที่ไม่มีเหงือกหายใจใต้น้ำ และต้องอาศัยการหายใจ เหนือผิวน้ำเป็นระยะ นั่นหมายความว่า โลมาไม่เคยนอนหลับแบบเต็มอิ่ม เลยสักครั้งในชีวิต เพราะพวกมันต้องมีสติ ในการหายใจอย่างมาก

โดยการหลับพักผ่อน ด้วยการตั้งตัวตรง บริเวณใกล้กับผิวน้ำให้ได้มากที่สุด เพื่อสะดวกต่อการขึ้นมาหายใจ หรือบางครั้งอาจใช้เวลาหลับ ทั้งที่ยังว่ายน้ำไปตามกระแสน้ำ เพราะมันหลับด้วยการ ใช้งานสมองซีกซ้ายซีกเดียว และหลับตาขวาข้างเดียว จึงควบคุมการหายใจ พร้อมตรวจสอบสิ่งรอบข้างได้ด้วย

โลมาใช้เวลาการนอนหลับ ประมาณ 8 ชั่วโมง / วัน และมักหลับตอนกลางคืน 2 – 3 ชั่วโมง / ครั้ง โดยทั่วไปแล้วพวกมัน สามารถว่ายน้ำอยู่ได้นาน 30 นาที / ครั้ง ก่อนเงยขึ้นมาหายใจ เนื่องจากมีปอดขนาดใหญ่พิเศษ สำหรับการแลกเปลี่ยนอากาศ ในการสูดหายใจแต่ละครั้งได้ดี [2]

เปิดลายแทงสถานที่เที่ยวชม โลมา

แนะนำสถานที่เที่ยวชม ว่ายน้ำ และการดำน้ำ อย่างใกล้ชิดกับโลมา หนึ่งในความฝันของนักดำน้ำทั่วโลก สถานที่อันสวยงาม ที่จะทำให้เป็นประสบการณ์ น่าจดจำไปตลอดชีวิต กับพิกัดสถานที่ดังต่อไปนี้

  • บาฮามาส (Bahamas) : หมู่เกาะที่เต็มไปด้วยเกาะปะการัง และน้ำใสราวกับคริสตัล พบเห็นฝูงโลมาจำนวนมาก ตลอดทั้งปี ทั้งโลมาลายจุด โลมากระโดด โลมาปากขวด และโลมาแถบ แนะนำควรเที่ยวช่วงปลายปี จะมีโอกาสเห็นฉลามเสือ ฉลามหัวบาตร และฉลามหูขาว
  • กาลาปากอส (Galapagos) : แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติตลอดปี มีจุดดำน้ำที่ดีที่สุดในกาลาปากอส คือ เกาะดาร์วิน และเกาะวูลฟ์ จะได้ชมความสวยงาม ของโลมาหลากหลายชนิด รวมถึงวาฬ ฉลาม กระเบนราหู อิกัวนาทะเล นกเพนกวิน และสิงโตทะเล
  • ฮาวาย (Hawaii) : เกาะสำหรับนักดำน้ำสคูบา พบเห็นอย่างใกล้ชิด ทั้งโลมากระโดด โลมาลายจุด และโลมาปากขวด ออกมาพักผ่อนบริเวณน้ำตื้น สามารถชมได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ยังดำน้ำร่วมกับ ฉลามกาลาปากอส เต่าทะเล วาฬนำร่อง และกระเบนราหู
  • เกาะโซคอร์โร (Socorro) : หรือเรียกกันว่า The Mexican Galapagos พิกัดดำน้ำที่ดีที่สุด สำหรับการชมสัตว์น้ำสวยงามขนาดใหญ่ ทั้งโลมาปากขวด กระเบนราหู ฉลามวาฬ วาฬหลังค่อม ฉลามหัวค้อน และฉลามอีกกว่า 10 สายพันธุ์ แนะนำช่วงเที่ยวเหมาะสม ในเดือนมกราคม – เดือนมีนาคม
  • ซาร์ดีนรัน (Sardine Run) : ชายฝั่งของประเทศแอฟริกาใต้ จะได้พบกับฝูงปลาซาร์ดีน จำนวนหลายพันล้านตัว กำลังอพยพขึ้นไปทางชายฝั่งตะวันออก ทอดยาวกว่า 15 กิโลเมตร ทำให้ดึงดูดพวกนกทะเล วาฬ ฉลาม ปลาทูน่า และโลมา สามารถลงไปดำน้ำ ท่ามกลางการให้อาหาร เพื่อชมโลมาประมาณ 18,000 ตัว กำลังว่ายน้ำไล่ปลาซาร์ดีน ควรเที่ยวช่วงเดือนพฤษภาคม – เดือนกรกฎาคม

ที่มา: 10 สถานที่ที่ดีที่สุดในการว่ายน้ำและดำน้ำกับโลมา [3]

สรุป โลมา “Dolphin”

โลมา สัตว์น้ำที่มีความเฉลียวฉลาด นิสัยรักสนุกขี้เล่น ว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่ว ทั้งยังชอบช่วยเหลือมนุษย์ ไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตาม ที่พวกมันพอจะทำได้ สามารถพบเห็นใน มหาสมุทรหลายแห่ง แหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ รวมถึงสถานที่จัดแสดง ตามสวนสัตว์ และศูนย์แสดงพันธุ์สัตว์น้ำทั่วโลก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง